วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ตัวการ์ตูนที่ชอบ

POOH


ประวัติหมีพูห์ หมีพูห์ หรือ วินนี-เดอะ-พูห์ ( Winnie-the-Pooh) เป็นตัวละครหมีที่สร้างขึ้นโดย เอ. เอ. มิลน์ และตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 14 ตุลาคมค.ศ. 1926 ในหนังสือเรื่อง วินนี-เดอะ-พูห์ และ เดอะเฮาส์แอตพูห์คอร์เนอร์ (1928) เนื้อเรื่องในหนังสือมีลักษณะคล้ายกับ ป่าแอชดาวน์ ในเมือง อีสต์ซัซเซก ในประเทศอังกฤษ โดยชื่อ วินนี มาจากชื่อตุ๊กตาหมีของทหารชาวแคนาดานายหนึ่ง ซึ่งตั้งตามชื่อเมือง วินนีเพก ในประเทศแคนาดา นอกจากหมีพูห์แล้วเพื่อนในป่าที่ได้รับความนิยมได้แก่ พิกเลต ทิกเกอร์ และ อียอร์ ต่อมา วอลต์ดิสนีย์ ได้นำวินนี-เดอะ-พูห์ มาจัดทำและได้เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น Winnie the Pooh (โดยไม่มีเครื่องหมายขีด) และหมีพูห์ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของดิสนีย์ หมีที่ชื่อว่า วินนี่ เดอะ พูห์ เป็นผลงานสร้างสรรค์ของเอ.เอ.ไมลน์ ( A.A.Miline) นักเขียนชาวอังกฤษ มีชื่อเต็มว่า อลัน อเล็กซานเดอร์ ไมลน์ ตำนานของหมีพูห์เริ่มจากการที่ทหารกองทัพแคนาดาได้นำหมีน้อยตัวหนึ่ง ชื่อว่า วินนี่ เพ็ก แก่ประเทศอังกฤษ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของการร่วมรบกันระหว่างกองทัพแคนาดาและอังกฤษในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ( ค.ศ.1914-1918) หมีน้อยตัวนี้ได้ไปอยู่ที่สวนสัตว์กรุงลอนดอน ในปี 1919 ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของชาวลอนดอนมาก รวมถึงหนูน้อยคริสโตเฟอร์ โรบิน ลูกชายของนักเขียนชื่อเอ.เอ.ไมล์น หนูน้อยคริสโตเฟอร์นำชื่อวินนี่ เพ็ก ไปตั้งชื่อตุ๊กตาหมีตัวโปรดว่า วินนี่ เดอะ พูห์ โดยคำว่า “ พูห์” (Pooh) เป็นชื่อของหงส์ในกวีบทหนึ่ง ต่อมาเอ.เอ.ไมลน์ จึงเริ่มเขียนเรื่องราวของวินนี่ เดอะ พูห์ และเพื่อนพ้องของมัน โดยหนังสือวางจำหน่ายเมื่อปีค.ศ.1926 หรือ 74 ปีที่แล้ว กระทั่งปี 1996 ที่ผ่านมา ยอดขายหนังสือสูงถึง 20 ล้านเล่ม แปลเป็นภาษาต่างๆมากกว่า 25 ภาษา ในขณะเดียวกันวอลต์ ดิสนีย์ ซื้อลิขสิทธิ์หมีพูห์และนำไปสร้างการ์ตูนบนแผ่นฟิล์มในปี 1996 พร้อมกับผลิตภัณฑ์มากมายก่ายกอง ทำให้หมีพูห์เป็นตัวการ์ตูนยอดนิยมอันดับ 2 ของเด็กอเมริกันรองจากมิกกี้ เม้าส์ หมีพูห์รู้ดีว่าเขาต้องการอะไรเมื่อ “ ท้องเริ่มส่งเสียงร้อง” นั่นคือ น้ำผึ้งไง! อืม... แต่จะทำอย่างไรหากเขาพบเพียงโถเปล่าที่มีน้ำผึ้งเหนียว ๆ ติดอยู่เพียงนิดเดียวเท่านั้น “ งั้นเราก็ต้องช่วยจัดการให้โถเกลี้ยงเร็ว ๆ หน่ะสิ” เจ้าหมีสมองเล็ก (แต่บางครั้งก็ฉลาดล้ำลึก) ตัวนี้อาจพยายามหลอกเจ้าผึ้งขี้สงสัยว่ าตัวเขาคือเมฆฝนสีดำก้อนใหญ่ หรือถ้าคิดอีกที การแวะไปบ้านกระต่ายเพื่อหาขนมหวานทานดูจะเป็นเรื่องง่ายกว่า ( และเจ็บตัวน้อยกว่าด้วย) แต่ไม่ว่าพูห์จะเลือกทำอะไรก็มักจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเสมอ เช่น ติดอยู่ในรูกระต่าย แคบ ๆ และไม่สามารถขยับเขยื้อนตัวออกมาได้ เป็นต้น แต่ก็นั่นแหล่ะ เขามักจะหาทางออกได้เสมอ เพราะแม้สมองของเขาจะเต็มไปด้วยนุ่น แต่เพื่อนรักของคริสโตเฟอร์ โรบิน หรือที่ใคร ๆ เรียกว่าเจ้าหมีแก่จอมงี่เง่าตัวนี้มีจิตใจที่งดงาม ในชีวิตจริง วินนี่ย์เดอะพูห์ ( หรือที่รู้จักกันในชื่อ เอ็ดเวิร์ดแบร์ ในช่วงแรกเมื่อเขาปรากฏตัวใน ‘When We Were Very Young’ คือ ของเล่นสุดรักสุดหวงของคริสโตเฟอร์ มิลล์ ( ลูกชายของเอ. เอ. มิลล์) ซึ่งได้รับเจ้าหมีน้อยตัวนี้เป็นของขวัญครบรอบหนึ่งขวบของเขาใน ปี 1921 ปัจจุบัน วินนี่ย์เดอะพูห์ถูกจัดแสดงให้แฟน ๆ ของการ์ตูนเรื่องดังกล่าวได้ชมกันที่ Children’s Reading Room ใน New York Public Library บนถนน West 53rd Street ผู้ให้เสียงสำหรับตัวการ์ตูนตัวนี้ คือ สเตอร์ลิง ฮอลโลเวย์ ซึ่งเป็นนักแสดงชื่อดังและนักพากย์ที่สตูดิโอดิสนี่ย์



ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องวินนี่ย์เดอะพูห์ ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องแรกของทางสตูดิโอที่นำวรรณกรรมเยาวชนอันแสนน่ารักของเอ. เอ. มิลล์ ถ่ายทอดสู่แผ่นฟิล์ม วินนี่ย์เดอะพูห์และผองเพื่อน , คริสโตเฟอร์ โรบิน, เจ้าลาอีออร์, นกฮูก, แคงก้า และเบบี้รู รวมถึงกระต่ายและโกเฟอร์ ต้องเผชิญกับฝูงผึ้งและรังน้ำผึ้ง อันแสนหอมหวาน มีการดัดแปลงเรื่องราวดั้งเดิมของเจ้าหมีเท็ดดี้แบร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกตัวน ี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการเพิ่มตัวละครใหม่ นั่นคือ โกเฟอร์ นี่คือภาพยนตร์การ์ตูนพิเศษขนาดสั้นกำกับโดย วูลฟแกงค์ ไรเดอร์แมน ทีมพากย์เสียงโดย สเตอร์ลิง ฮอลโลเวย์ ( พูห์) , บรูซ ไรเดอร์แมน (คริสโตเฟอร์ โรบิน), ราล์ฟ ไรต์ (อีออร์), โฮวาร์ด มอร์ริส (โกเฟอร์), บาบาร่า ลัดดี้ (แคงก้า), ฮัล สมิธ (นกฮูก), จูเนียส แมธธิวส์ (กระต่าย) และคลินต์ โฮวาร์ด (รู) ความยาว 26 นาที เซบาสเตียน เคบอตต์ ผู้ดำเนินเรื่อง และเพลงประกอบภาพยนตร์โดย ริชาร์ด เอ็ม. และ โรเบิร์ต บี. เชอร์แมน สเตอร์ลิง ฮอลโลเวย์ได้รับคำชมเชยอย่างมากจากการพากย์เสียงเป็นพูห์และเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้หนัง ประสบความสำเร็จ เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดภาคต่ออีก 3 ตอน รวมถึงการนำตอนต่อทั้งหมดออกฉายรวมกันด้วย ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวออกเป็นวีดีโอในปี




ต้นกำเนิดหมีพูห์ (Winnie-the-Pooh) ประมาณเดือนสิงหาคม ในปี ค.ศ. 1914 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 Harry Colebourn สัตวแพทย์ชาวคานาดา ทำงานประจำที่ Fort Garry Horse ใน Winnipeg ได้ถูกส่งตัวไปประจำการที่อังกฤษ ขณะเดินทางไปอังกฤษ ขบวนรถไฟที่เขานั่งไปต้องหยุดจอดที่ White River ใน Ontario เพื่อเปลี่ยนขบวนใหม่ ระหว่างนั้นเขาได้เห็นชายคนหนึ่งกับลูกหมีสีดำ ณ บริเวณชานชาลาของสถานีรถไฟ โดยที่ลูกหมีตัวนั้นถูกผูกกับที่เท้าแขนของเก้า.....้ที่ชายคนนั้นนั่งอยู่ หลังจากที่ Harry Colebourn พูดคุยกับชายคนนั้นทำให้เขารู้ว่า ชายคนนั้นเป็นนักล่าสัตว์ เขาจึงขอซื้อลูกหมีตัวนั้นในราคา 20 เหรียญสหรัฐ และตั้งชื่อให้มันว่า Winnie เขาได้นำ Winnie ไปอยู่กับเขาที่กองทัพด้วย ซึ่งทุกคนในกองทัพก็ถือว่า Winnie เป็นสัตว์นำโชค ต่อมาเดือนธันวาคม ในปีเดียวกัน กองทัพที่ Harry Colebourn ประจำการอยู่ ต้องย้ายกำลังพลไปที่ประเทศฝรั่งเศส Harry Colebourn ได้ฝาก Winnie ไว้ที่สวนสัตว์ที่กรุงลอนดอน และเขาคาดการณ์ว่าประมาณ 2 สัปดาห์เขาคงจะเสร็จภารกิจ และกลับมารับ Winnie ได้ แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นดังที่เขาคิดไว้ สงครามสงบประมาณปี ค.ศ. 1918 Harry Colebourn กลับมาที่สวนสัตว์***กครั้งเพื่อมารับ Winnie แต่เขาพบว่า Winnie อยู่อย่างมีความสุข ณ สวนสัตว์แห่งนี้ ทั้งคนเลี้ยงและคนที่มาเที่ยวในสวนสัตว์ รักมันมาก เขาจึงตัดสินใจปล่อยให้ Winnie อยู่ที่สวนสัตว์ตามเดิม และมาเยี่ยม Winnie เสมอเมื่อมีโอกาส จนกระทั่ง Winnie เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ปี ค.ศ.1934 ส่วน Harry Colebourn ได้กลับมาประจำการอยู่ที่ทำงานเก่าของเขา Fort Garry Horse ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1921 โดยทำหน้าที่เป็นสัตวแพทย์ ประจำกองทัพ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1947 Harry Colebourn และหมี Winnie ที่เขาซื้อมาจากนักล่าสัตว์ A.A. Milne และ Christoper Robin ลูกชาย พร้อมดัวยตุ๊กตาหมี Winnie ในช่วงที่ Winnie ยังมีชีวิตอยู่ในสวนสัตว์ Winnie มีชื่อเสียงมาก อยู่มาวันหนึ่งประมาณปี ค.ศ. 1925 Christoper Robin เด็กชายวัย 5 ขวบได้มาเที่ยวเล่นในสวนสัตว์แห่งนี้ ทันทีที่ Christopher Robin พบกับ Winnie เขาก็เกิดความรักและประทับใจใน Winnie มาก จนถึงกับเปลี่ยนชื่อตุ๊กตาหมีที่ได้จากเพื่อนของพ่อของเขาจาก Edward มาเป็นชื่อ Winnie และความรักของ Christoper Robin ใน Winnie นี่เองที่ไปจุดประกายความคิดของ A.A. Milne (Alan Alexander Milne) พ่อของ Christopher Robin ซึ่งเป็นนักเขียนหนังสือและบทกลอน ให้แต่งนิทานเรื่องเกี่ยวกับ Winnie และเพื่อนขึ้นมา โดยชื่อของหมีในนิทานของเขามีชื่อว่า "Winnie-the-Pooh" โดยคำว่า Winnie มาจากตุ๊กตาหมีของลูกชายของเขาและหมี Winnie ในสวนสัตว์นั่นเอง ส่วนคำว่า Pooh มาจากชื่อของหงส์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณฟาร์มของเขา (Cotchford Farm อยู่ในบริเวณป่า Ashdown ที่ Sussex ประเทศ England) นิทานของเขาจะเล่าถึงการผจญภัยของ Christopher Robin กับ Winnie รวมทั้งสัตว์ที่เป็นเพื่อนของเขาในป่า โดยที่ลักษณะนิสัย ของตัวละครสัตว์ตัวอื่นๆ เช่น Eeyore, Piglet, Tigger, Kanga และ Roo มาจากเหล่าตุ๊กตาสัตว์ของ Christoper Robin ลูกชายของเขา ส่วนลักษณะนิสัยของตัวละครสัตว์ Rabbit และ Owl มาจากสัตว์ที่อาศัยในบริเวณฟาร์ม และภาพประกอบของนิทานทั้งหมด เขียนโดย E. H. Shepard.



นิทานของเขาจะเล่าถึงการผจญภัยของ Christopher Robin กับ Winnie รวมทั้งสัตว์ที่เป็นเพื่อนของเขาในป่า โดยที่ลักษณะนิสัย ของตัวละครสัตว์ตัวอื่นๆ เช่น Eeyore, Piglet, Tigger, Kanga และ Roo มาจากเหล่าตุ๊กตาสัตว์ของ Christoper Robin ลูกชายของเขา ส่วนลักษณะนิสัยของตัวละครสัตว์ Rabbit และ Owl มาจากสัตว์ที่อาศัยในบริเวณฟาร์ม และภาพประกอบของนิทานทั้งหมด เขียนโดย E. H. Shepard. ปัจจุบันตุ๊กตาของ Christopher Robin ถูกเก็บรักษาไว้ที่ Donnell Library Center ซึ่งเป็นห้องสมุดสาขาหนึ่งของ New York Public Library CharacterWinnie The PooH PooH เป็นหมีที่น่ารัก เป็นสิ่งที่ใช้แทนความนุ่มนวลและอ่อนโยน พูห์เป็นหมีที่มีสมองอันเล็กน้อยจึงไม่แปลกที่เขาจะไม่ฉลาดในหมู่เพื่อนๆของเขา แต่ก็มีความผูกพันธ์กันเป็นอย่างดี ซึ่งเพื่อนๆได้ยกย่องให้พูห์เ็ป็นผู้นำ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของพูห์กลับเป็นน้ำผึ้งและจะหิวอยู่ได้ตลอด ไม่ว่าสิ่งใดจะเงียบอยู่แต่ท้องของพูห์ก็จะร้องดังขึ้นมาเสมอออกโรงครั้งแรก: 1996 ตอน หมีพูห์กับต้นไม้น้ำผึ้งลักษณะนิสัย: อ่อนโยน เป็นผู้นำงานอดิเรก: การหิวและกินน้ำผึ้งตลอดเวลาคืองานอดิเรกคำที่ชอบพูด: "ทำยังไงฉันถึงจะได้น้ำผึ้งนะ"Tigger Tigger เสือที่ใช้หางของตัวเองกระโดดไปไหนมาไหนได้เหมือนกับสปริง ในตัวของ Tigger เต็มไปด้วยความสนุกสนานอย่างที่สุด เขามักจะแชร์ความสนุกกับเพื่อนของเขาเสมอ แต่ยกเว้นกับ Rabbit ที่เขาไม่ค่อยอยากจะสนุกด้วย Tigger เป็นเสือที่ชอบใช้คำพูดที่ผิดๆโอ้อวดพูดอะไรเกินจริง เป็นตัวป่วนที่สุดในหมู่เพื่อนชอบทำตัวเป็นผู้รู้และชอบเป็นนักสืบออกโรงครั้งแรก: 1998-ตอนหมีพูห์และวันลมพัดแรงลักษณนิสัย: สนุกสุดๆรักเพื่อน และเป็นนักสืบแบบมั่วๆ ชอบพูดอะไรเกินจริงงานอดิเรก: ใช้หางของตัวเองกระโดดไปมาคำที่ชอบพูด: "สิ่งนั้นคือสิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดของ Tigger " Piglet Piglet หมูน้อยผู้อ่อนโยนและถ่อมตัว เป็นหมูที่ตัวเล็กมากแต่ใจของเขาไม่ได้เล็กด้วย เขาใจกว้างในหมู่เพื่อน Piglet ไม่ค่อยที่จะกระตือรือร้นที่จะทำอะไรซักอย่างชอบพูดติดอ่างในบางครั้ง และกลัวในสิ่งที่ยังไม่รูู้้แน่ว่ามันเป็นอะไร เขารักเพื่อนๆของเค้ามากโดยเฉพาะหมีพูู และยังมีอารมณ์เป็นศิลปินด้วยชอบร้องเพลงและแต่งกลอนให้เพื่อนๆฟังออกโรงครั้งแรก: 1998-ตอนหมีพูห์และวันลมพัดแรงลักษณะนิสัย: ขี้กลัว อยากรู้อยากเห็น ใจกว้างงานอดิเรก: การเป็นเพื่อนที่ดีของ Poohคำที่ชอบพูด: "โอ้....แต่..แต่่,เอ่อ..ฉัน..เอ่อ..." Eeyore Eeyore เป็นลาที่ดูเซื่องๆ ไม่เคยคาดหวังอะไรจากคนอื่นและตัวเอง จึงมีแต่เพื่อนของเขาที่คอยให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ ความฝันของเขาเป็นสิ่งที่เวอร์สุดๆ การแสดงออกทางอารมณ์เมื่อดูที่สีหน้าของเขาก็จะรู้ทันทีว่าเขารู้สึกอย่างไร Eeyoreถ้าดูภายนอกก็แค่ลาสีเทาตัวหนึ่ง แต่ภายในจิตใจของเขาเต็มไปดวยความเอื้ออารี ให้ความช่วยเหลือคนอื่นด้วยความเต็มใจเสมอ และมีโอกาสทำพลาดน้อยมากออกโรงครั้งแรก: 1996-ตอนหมีพูห์กับต้นไม้น้ำผึ้งลักษณะนิสัย: ลาผู้ดูเซื่องๆ ไม่ค่อยยุ่งกับใครงานอดิเรก: มีปัญหากับหางของตัวเองและยุ่งกับสร้างบ้านของเขาคำที่ชอบพูด: "ฉันไม่ได้เก่งที่หาง แต่ฉันก็ต้องมีมัน" Rabbit Rabbit เป็นกระต่ายที่ขยันมาก เขามีที่ดินที่เขาใช้ปลูกพืชผักของเขากว่า25ไร่ เขาจะหวงพื้นที่นี้ที่สุด ห้ามใครเข้าใกล้ก่อนได้รับอนุญาติเด็ดขาด วันๆ เอาแต่ดูแลสวน Rabbit เป็นกระต่ายที่ทะนงในความคิดของตัวเองที่สุดชอบแสดงตนเป็นผู้รู้ที่สุดและก็มักจะผิดพลาดเสมอ แต่เขาก็ยอมรับกับความผิดพลาดของเขา เป็นกระต่ายที่ตื่นตูม แต่เขาก็รักเพื่อนของเขาที่สุดออกโรงครั้งแรก: -ลักษณะนิสัย: แสดงตนเป็นผู้รที่ผิดๆู้ ,ตื่นตูม งานอดิเรก: ดูแลสวนคำที่ชอบพูด: "อย่ายุ่งกับสนของฉันนะ" "โอ้..แย่แล้ว" Roo Roo เป็นจิงโจ้ที่เด็กที่สุดในหมู่เพื่อนๆ เต็มไปด้วยความไร้เดียงสาที่สุด สนุกไปวันๆ อยากรู้อยากเห็น การค้นพบอะไรซักอย่างเล็กๆน้อยๆคือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา แสดงออกด้านความรักกับแม่ของเค้าอย่างชัดเจนและมักเห็นอกเห็นใจคนอื่นเสมอ เขามีเพื่อนที่สนิทที่สุดคือLumpy เขาเข้ากันได้เป็นอย่างดี สร้างความปวดหัวให้กับเพื่อนๆและพูห์เสมอออกโรงครั้งแรก: -ลักษณนิสัย: ไร้เดียงสา อยากรู้อยากเห็นงานอดิเรก: เล่นสนุกไปวันๆคำที่ชอบพูด: "ว้าว...สนุกที่สุดเ้ลยย..." Lumpy Lumpy ช้างน้อย เพื่อนสนิทของ Roo พวกหมีพูห์คิดว่า Lumpy เป็นสัตว์ร้ายตัวโตที่จะมาเอาชีวิตของพวกเค้า เพราะด้วยการพูดของ Tigger ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังไม่มีใครได้เห็นตัวจริงของ Lunpy เห็นแต่เพียงร่องรอยที่ Roo กับLumpy ทำเสียหายไว้หลังจากการเล่นสนุกLumpy เป็นช้างน้อยที่ไร้เดียงสาพอๆกับ Rooเล่นสนุกไปวันๆ จิตใจกล้าหาญเกินตัว ชอบแสดงละครและร้องเพลงออกโรงครั้งแรก: -ลักษณนิสัย: ไร้เดียงสา กล้าหาญงานอดิเรก: เล่นสนุกไปวันๆคำที่ชอบ



ความรักก

นิยามของความรัก




นิยามของความรัก21:11 น.
ความรักคือ โชคอย่างหนึ่งเพราะใช่ว่าทุกคนจะมีได้ ความรักเป็นได้ทั้งมือเเละผ้าพันเเผลเวลาเสียใจ ความรักคือ สิ่งเติมเต็มให้ชิวิตไม่รู้สึกขาดอะไรไปอย่างนึง ความรักคือ ความหวัง กำลังใจ เเละศรัทธาในกันเเละกัน ความรัก มีความลับอยู่อย่างหนึ่งว่าไม่ได้รักในสิ่งที่ทำให้เรา มีความสุขเเต่มีความสุขใน สิ่งที่เรารักต่างหาก ความรักคือ ศิลปะ ที่คนมีรักเท่านั้นที่จะเข้าใจเเละเห็นคุณค่า ความรักคือ โอกาส ที่เราจะได้พิสูจน์จิตวิญญาณของตัวเอง ความรักคือ สิ่งที่ทำให้คนฉลาดกลายเป็นคนโง่ ทำให้คนโง่กลายเป็นคนฉลาด ความรัก เมื่อสูญเสียไปเเล้วก็ยังดีกว่าไม่เคยรัก ความรัก มิได้เป็นการก้าวนำหรือก้าวตามเเต่เป็นการก้าวไปพร้อมๆกัน ความรักทำให้คนเราเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์เดิมๆของชีวิต ความรักทำให้จดจำคืนพิเศษคืนเดียวไปตลอดชีวิตเพราะทุกคืน




ที่ไร้ความรักก็มิอาจเทียบเท่าได้กับคืนนี้เพียงคืนเดียว ความรักคือการยอมเป็นน้ำเย็นในขณะที่อีกฝ่ายร้อนเป็นไฟ ความรักที่มีมาเป็นปีๆก็สามารถพังทลายลงได้เพียงเสี้ยววินาที ความรักจะยาวนานหรือจะเเสนสั้นทุกอย่างขึ้นอยู่กับวิธีที่รัก ความรักกว่าจะพบเจอได้นั้นเเสนยากอย่าให้มันจบสิ้นเพียววันเดียว ความรักสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลาเหมือนถ่านไฟเก่าที่กำลังคุโชน ความรักต่อให้บอกกันทุกวันว่ารักก็ไม่มีคำว่ามากเกินไปหรอก เเต่ความเกลียดสิบอกกันครั้งเดียวก็คงไม่อยากได้ยินอีกต่อไป








ความรักถ้าไม่รักเเล้วต่อให้พูดมากเท่าใดก็ไม่สามารถรักกันได้ ความรักสามารถให้อภัยกันได้เสมอโดยไม่มีเงื่อยไขว่ากี่ครั้ง ความรักรักได้เเต่อย่าหลงเพราะถ้าหลงเวลาเลิกเเล้วจะเจ็บปวด ความรักอยู่เหนือคำทำนายเเละจะไม่มีวันเป็นไปตามคำพยากรณ์ได้ ความรักคือสิ่งแปลกใหม่ที่จะทำให้มุมมองของคุณเปลี่ยนไปจากเดิม ความรักทำให้คุณอยู่นิ่งๆเงียบๆได้นานกว่าเดิม ความรักคือสิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟในหัวใจ ความรักคือการเริ่มคิดเป้าหมายเเห่งชีวิต ความรักคือการร่วมฝัน ร่วมปันใจเเละก้าวไปในชีวิต ความรักคือการอยู่เคียงข้างกันเสมอไม่ว่าอีกฝ่ายจะตกต่ำเพียงใด ความรักไม่ว่าจะเป็นเเบบไหนยังไงมันก็ต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ความรักเป็นนามธรรมที่มองไม่เห็นเเต่สัมผัสไได้ด้วยหัวใจ ความรักทำให้วันเลวร้ายไม่เป็นวันเลวร้ายที่สุด ความรักทำให้วันที่เเสนเศร้ากลายเป็นวันที่สุขที่สุดได้ ความรักเป็นสมบัติล้ำค่าที่ไม่สามารถจะหาได้ง่ายตามท้องถนน ความรักทำให้อะไรดีงามได้







ความรักที่รีบร้อนมักจะพบกับจุดสิ้นสุดได้รวดเร็วเสมอ ความรักคือสิ่งที่เเม้จะทำความเจ็บปวดให้เเต่ก็ไม่มีใครที่กลัวหรือเกลียดชัง ความรัก ความรักไม่ได้จบลงเเค่การเเต่งงานหรือมีSEXเท่านั้น ความรักคือสิ่งที่คุณจะพบได้เองโดยมิต้องเเสวงหา ความรักคือสิ่งที่ยืนยาวกว่าชีวิตคนคนนึง ความรักส่วนมากมักจะเติบโตมาจากความเป็นเพื่อนเเละมักจะยืนยาวเสมอ ความรักในยามเเรกรักคือช่วงเวลาของรักที่หวานหอมมากที่สุด ความรักครั้งเเรกเเละครั้งสุดท้ายมักจะเป็นรักในตนเอง ความรักทำให้คนกลายเป็นกวี ความรักไม่ใช่การมองตากันเเต่เป็นการมองไปในทิศทางเดียวกัน ความรักไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ไม่มีคำว่าสายไป ความรักคือสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตคุณ ความรักทำให้ทุกอย่างสว่างเเละสดใส ความรักคือการพึงพอใจในสิ่งที่รัก ความรักจะมีคุณค่าได้ต่อเมื่อคนที่รักต้องให้เกียรติ์ซึ่งกันเเละกัน ความรักบางทีก็เป็นสะพานทอดไปสู่การเเต่งงาน






It's easy to say "ILOVE YOU" But only "I DO" says you're really one for always. คำว่ารักใครก็พูดได้ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือรักที่รักจริงๆ จากหัวใจ.....




การเมือง






การเมืองงงง











การเมือง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่:
ป้ายบอกทาง, ค้นหา
การเมือง คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับ
รัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา
ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ นักทฤษฎีการเมืองคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร"
วิชา
รัฐศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใจ
เนื้อหา[
ซ่อน]
1 แนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการเมือง
2 ความหมายของการเมือง
3 อ้างอิง
4 ดูเพิ่ม
//
[
แก้] แนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการเมือง
เราอาจเคยสงสัยและตั้งคำถามว่า เหตุใดมนุษย์จึงต้องปกครองกัน ทำไมไม่ปล่อยให้มนุษย์อยู่กันเอง กระทั่งอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า การเมืองกับการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งหลายคนจำเพาะในกลุ่มผู้ที่ขาดความสนใจต่อความเป็นมาเป็นมาในกิจการทางการเมืองอาจฟังดูไม่กระจ่างนัก ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวประการใด
คำตอบต่อความสงสัยข้อแรกนั้นโยงใยไปถึงความข้อต่อมากล่าวคือ มนุษย์นั้นโดยธรรมชาติเป็นสัตว์สังคม ที่ต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่คณะ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกัน หากมิได้กำหนดกติกาอะไรสักอย่างขึ้นมากำกับการอยู่รวมกันของมนุษย์แล้วนั้น มนุษย์ด้วยกันเองยังเชื่อว่าน่าจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นในสังคมและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ เนื่องจากโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้น ป่าเถื่อน ขลาดกลัวและไม่เป็นระเบียบดังที่
โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) นักปรัชญาการเมืองโบราณ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1588-1679 ได้เคยกล่าวไว้ในผลงานปรัชญาการเมืองเลื่องชื่อเรื่อง “Leviathan” ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1651 ว่า เมื่อมนุษย์จำต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมภายใต้กติกาแล้ว ก็จำเป็นอยู่ในตัวเองที่จะต้องกำหนดตัวผู้นำมาทำหน้าที่ควบคุมดูแลให้สังคมหรือการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย เช่นที่กล่าวมาเราคงพอจะทราบบ้างแล้วว่าเหตุใดจึงเกิดมีระบบการปกครองขึ้น
และโดยนัยที่มนุษย์จำต้องปกครองกันนั้น หากเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน หรือการจะทำให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไป หลีกเลี่ยงมิได้เสียที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางการเมือง อันมีความหมายและบริบทที่สะท้อนออกมาในเรื่องของการใช้อำนาจเพื่อการปกครองประชาชน การเมืองการปกครองซึ่งเป็นสภาพการณ์และผลที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (Eulau 1963, 3) จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์อย่างมิอาจปฏิเสธได้ ซึ่งก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ใดก็ตาม จำเป็นต้องให้ความสนใจกับเรื่องการเมืองการปกครองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากสิ่งใดที่ออกมาจากสถาบันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่ในการตรากฎหมายต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้ มาจากรัฐบาลในรูปของนโยบายสาธารณะ (Public Policies) โครงการพัฒนา (Developmental Program) และงานต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นหรือดำเนินไปโดยภาคราชการ รวมไปถึงการตัดสินคดีความหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลกับรัฐ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องที่การเมืองส่งผลกระทบต่อทุกคนอย่างที่ไม่อาจมองข้ามไปได้
โดยบริบทดังกล่าวการศึกษาเรื่องการเมืองและการปกครองของประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ถูกบรรจุอยู่ในแทบทุกสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษาให้นักศึกษาได้ร่ำเรียน ทำความรู้ความเข้าใจในฐานะที่อย่างน้อยก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม และเป็นเรื่องภาคราชการทั้งหลายต่างรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ภายใต้ความมุ่งประสงค์ที่จะหยั่งรากประชาธิปไตยในสังคมไทย และหากได้มองย้อนไปถึงแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองโบราณเช่น
อริสโตเติล (Aristotle) ปรัชญาเมธีชาวกรีกโบราณ ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์” ผู้กล่าวไว้ว่า มนุษย์ตามธรรมชาติเป็นสัตว์การเมืองต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือชุมชน อันแตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ด้วยสัญชาตญาณเป็นหลัก หากแต่มนุษย์ นอกจากจะอยู่ด้วยสัญชาตญาณแล้ว ยังมีเป้าหมายอยู่ร่วมกันอีกด้วย ดังนั้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จึงมิใช่มีชีวิตอยู่ไปเพียงวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น หากแต่เป็นการอยู่ร่วมกันเพื่อจะให้มีชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย เราก็จะมองเห็นภาพของการเมืองในแง่หนึ่งว่าการเมืองนั้นก็คือ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในชุมชนหรือสังคมเพื่อให้มีความสงบสุข
[
แก้] ความหมายของการเมือง
ในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์ มุมมองที่ใช้พิจารณาการเมืองหรือพูดเป็นศัพท์ทางวิชาการก็คือแนวการศึกษาวิเคราะห์การเมือง (Approach to Political Analysis) ก็ย่อมแตกต่างกันออกไปบ้างตามแต่ใครจะเห็นว่าแนวการมองการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงต่อการอธิบายความเป็นการเมืองได้มากที่สุด โดยคำว่า “การเมือง” นี้ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียด ตามแต่จะใช้ตัวแบบใดในการศึกษาวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมือง และด้วยตัวแบบที่เป็นกรอบในการศึกษาวิเคราะห์นี้ จะยังผลให้กรอบการมองคำว่าการเมืองต่างกันไป ในขณะที่สาระสำคัญของคำจำกัดความเป็นไปในทำนองเดียวกันกล่าวคือเป็นเรื่องของการใช้อำนาจแบบสองทางระหว่างฝ่ายที่เป็นผู้ปกครอง (Rulers) และฝ่ายผู้ถูกปกครอง (Ruled) ดังจะได้ยกมากล่าวถึง ซึ่งสำหรับผู้ศึกษารัฐศาสตร์มือใหม่แล้ว การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่าการเมืองนั้น จึงดูจะเป็นเรื่องที่สร้างความสับสนอยู่มิใช่น้อย เนื่องมาจากความหมายของการเมืองที่ปรากฏอยู่ในตำราเล่มต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นเผยแพร่นั้นมีอยู่หลากหลายต่างกันไปตามความเจตนารมณ์และมุ่งประสงค์ในการนำความหมายของการเมืองเพื่อไปอธิบายปรากฏการณ์ของผู้ให้คำนิยามความหมายของการเมือง ดังได้กล่าวไปแล้ว
คำจำกัดความของการเมืองที่ชัดเจนและรัดกุมมากที่สุดโดยนัยที่ได้กล่าวไปนี้ พิจารณาได้จากทัศนะของชัยอนันต์ สมุทวณิช (2517, 61) ที่ว่า การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปของรัฐและการจัดระเบียบความสัมพันธ์ภายในรัฐระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง โดยเมื่อสังคมมนุษย์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาล คนเราจึงต้องแบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ ๆ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บังคับกับผู้ถูกบังคับเสมอ

ผู้เรียบเรียงได้รวบรวมและประมวลคำนิยามหรือความหมายของคำว่าการเมือง มานำเสนอโดยจำแนกได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มแรก การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ โดยเป็นการต่อสู้กันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพลในการบริหารกิจการบ้านเมือง โดยคำนิยามของการเมืองในเชิงอำนาจที่น่าสนใจอันหนึ่ง ที่ได้ให้คำอธิบายที่ชัดเจนมากได้แก่นิยามของ เพนนอคและสมิธ (Pennock and Smith 1964, 9) ที่กล่าวว่า การเมือง หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับอำนาจ สถาบันและองค์กรในสังคม ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีอำนาจเด็ดขาดครอบคลุมสังคมนั้น ในการสถาปนาและทำนุรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม มีอำนาจในการทำให้จุดประสงค์ร่วมกันของสมาชิกในสังคมได้บังเกิดผลขึ้นมา และมีอำนาจในการประนีประนอมความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคนในสังคม
อีกหนึ่งคำนิยามการเมืองที่ถือได้ว่าครอบคลุมและช่วยให้เห็นภาพความเกี่ยวพันของการเมืองกับบุคคลในสังคมได้แก่ ณรงค์ สินสวัสดิ์ (2539, 3) ที่กล่าวว่า การเมืองเป็นการต่อสู้ช่วงชิง การรักษาไว้และการใช้อำนาจทางการเมือง โดยที่อำนาจทางการเมืองหมายถึง อำนาจในการที่จะวางนโยบายในการบริหารประเทศหรือสังคม อำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลเพื่อช่วยในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ อำนาจที่จะใช้ข้าราชการ งบประมาณหรือเครื่องมืออื่น ๆ ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ แนวการมองการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ (Power Approach) ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปนี้ เป็นแนวทางการศึกษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมชมชอบในหมู่นักรัฐศาสตร์และนักสังคมศาสตร์ทั่วไป ที่เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องหรือมีบริบทเกี่ยวกับการใช้อำนาจเพื่อการปกครองประชาชน ก็มักให้คำนิยามของการเมืองว่าเป็นปฏิสัมพันธ์ในเชิงการใช้อำนาจของรัฐาธิปัตย์ ต่อผู้อยู่ใต้อำนาจซึ่งก็คือประชาชนนั่นเอง โดยคำนิยามเช่นนี้ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ออกมาจากสถาบันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่ในการตรากฎหมายต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้ มาจากรัฐบาลในรูปของนโยบายสาธารณะ (Public Policies) โครงการพัฒนา (development program) และงานต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นหรือดำเนินไปโดยภาคราชการ รวมไปถึงการตัดสินคดีความหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลกับรัฐ จึงล้วนแต่เป็นเรื่องที่การเมืองส่งผลกระทบต่อนักศึกษาและบุคคลทั่วไป โดยบริบทดังกล่าวการศึกษาเรื่องการเมืองและการปกครองของประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ถูกบรรจุอยู่ในแทบทุกสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษาให้นักศึกษาได้ร่ำเรียน ทำความรู้ความเข้าใจในฐานะที่อย่างน้อยก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม และเป็นความรู้หนึ่งที่ประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยสมควรสั่งสมให้แก่พลเมืองของรัฐ เพื่อประโยชน์เป็นพื้นฐานของการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
นักรัฐศาสตร์บางท่านมองว่า แท้จริงนั้น การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องการต่อสู่แย่งชิงกันของกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) ที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ในอันที่จะแย่งชิงกันเข้าสู่อำนาจการบริหารประเทศ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้ผลผลิตจากระบบการเมือง (Political Outputs-ผลผลิตของระบบการเมือง เป็นคำศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ตามทัศนะของอีสตัน (David Easton) นักรัฐศาสตร์อเมริกัน ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของแนวคิดทฤษฎีการเมืองเชิงระบบ (the Systems Theory) อันได้แก่ นโยบาย กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ โครงการหรือแผนงานพัฒนาของภาครัฐและภาคราชการ ซึ่งผลในทางที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มของตนมากที่สุด เราเรียกการวิเคราะห์การเมืองแนวทางนี้ว่าเป็น การวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งดูไปก็เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของแนวการมองการเมืองเชิงอำนาจที่จะกล่าวถึงต่อไป ความหมายของการเมืองในมุมมองนี้ จึงเป็นว่า การเมืองการเมืองคือการที่บุคคลใดหรือกลุ่มใดในสังคม ซึ่งอาจมีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือขัดกันก็ตาม หรือมีความเห็นเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ตาม มาทำการต่อสู้เพื่อสรรหาบุคคลมาทำหน้าที่ในการปกครองและเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจที่จะให้เขาสามารถตัดสินใจในเรื่องของส่วนรวมได้โดยชอบธรรม ซึ่งจัดเป็นแนวที่นักรัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมการเมือง (Political Scientist) นิยมกัน
กลุ่มที่สอง มองว่า การเมืองเป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรของรัฐหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม ดังเช่นมุมมองของอีสตัน (David Easton) ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า การเมือง เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในการจัดสรรแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าต่าง ๆ ให้กับสังคมอย่างชอบธรรม (The authoritative allocation of values to society) ความหมายของการเมืองดังที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงจากสำนักพหุนิยม (Pluralism) อย่างไรก็ดี ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2535, 4-5) อธิบายว่า เราจะใช้ความหมายการเมืองดังกล่าวนี้ได้ก็ต่อเมื่อ ในสังคมนั้น ๆ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับผลกระทบจากทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความเห็นพ้องต้องกันและยอมรับในกติกาที่กำหนดการใช้อำนาจเพื่อแบ่งปันสิ่งที่มีคุณค่าเท่านั้น ส่วนในสังคมที่ยังไม่มีความเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับกติกาการกำหนดสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ชัยอนันต์ อธิบายว่า การเมืองยังคงเป็นเรื่องของการแข่งขันกันเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการแบ่งปันคุณค่าที่ให้ประโยชน์แก่ฝ่ายตนมากที่สุด เท่าที่จะเป็นได้ หรือ “The competition for the authority to determine the authoritative allocation of values to society” โดยนัยเช่นนี้ การเมืองจึงมีสองระดับ ระดับแรก การเมืองอยู่ภายใต้การแข่งขัน ขัดแย้งของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองที่ทุก ๆ ฝ่ายยอมรับได้ ในขณะที่การเมืองในความหมายอย่างแรกดังทัศนะของนักคิดกลุ่มพหุนิยมที่ได้กล่าวไปแล้ว ดูจะยอมรับในจุดเน้นว่ารัฐ เป็นการรวมกันหรือประกอบกันของกลุ่มหลากหลายในสังคม และรัฐมิได้เป็นเครื่องมือทางการบริหาร โดยที่มิได้เป็นตัวกระทำทางการเมือง (actors) ที่จะชี้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่รัฐเป็นเพียงรัฐบาล (State as government) ที่ทำหน้าที่เพียงเอื้ออำนวยความสะดวกในการแข่งขันกันของกลุ่มหลากหลายเท่านั้น (ชัยอนันต์ สมุทวณิช 2535, 6)
นอกจากนี้ คำนิยามการเมืองในกลุ่มที่สอง ซึ่งได้รับการกล่าวถึงอย่างสูงยังได้แก่ ทัศนะของลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ที่กล่าวว่า การเมือง เป็นเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลและผู้มีอิทธิพล และการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับว่า ใคร ทำอะไร เมื่อไร และอย่างไร (Politics is, who gets “What”, “When” and “How”)
กลุ่มที่สาม มองว่า การเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้ง ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ผู้คนซึ่งต้องการใช้ทรัพยากรนั้นมีอยู่มากและความต้องการใช้ไม่มีขีดจำกัด การเมืองจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่คนในสังคมไม่อาจตกลงกันได้หรือเกิดมีความขัดแย้งขึ้น อย่างไรก็ดี การมองการเมืองในลักษณะนี้มีข้อโต้แย้งอยู่มากว่า หากไม่อาจยุติข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ บ้านเมืองย่อมตกอยู่ในสภาวะยุ่งยากวุ่นวาย ต่อมาจึงมีผู้ให้มุมมองการเมืองใหม่ว่าเป็นเรื่องของการประนีประนอมความขัดแย้งมากว่าเป็นเรื่องของความขัดแย้ง
กลุ่มที่สี่ มองว่าการเมืองเป็นเรื่องของการประนีประนอมผลประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดแย้งจากการดำเนินงานทางการเมืองที่ไม่มีทางออก
กลุ่มที่ห้า ถือว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐและการบริหารประเทศในกิจกรรมหลัก 3 ด้านคือ งานที่เกี่ยวกับรัฐ การบริหารประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย และการอำนวยการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งเป็นการควบคุมให้มีการดำเนินงานตามนโยบาย ซึ่งหากพิจารณาให้ละเอียดแล้ว การเมืองโดยนัยยะความหมายประการนี้ เป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวกับการเมืองในความหมายเชิงอำนาจ ซึ่งก็เป็นเพราะอำนาจทางการเมืองนั้น ได้ถูกนำไปใช้ผ่านกระบวนการนโยบายและการแต่งตั้งคัดสรรผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ (ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ) ในรูปของอำนาจและการปฏิบัติงานทางการปกครอง และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการบริหารหรือการปกครองที่ยากจะแยกออกจากกันได้
กลุ่มที่หก การเมืองเป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของรัฐ กล่าวคือ การเมืองคือกิจกรรมใดใดที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย หน่วยงานและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย โดยนัยหนึ่ง การเมืองก็คือกระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐ นั่นเอง


วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กีฬา!





ฟุตบอล






ประวัติฟุตบอล

ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่มีกติการการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" (Gello-Roman) พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอวิวัฒนาการของฟุตบอล
ภาคตะวันออกไกล ขงจื้อได้กล่าวไว้ในหนังสือ "กังฟู" เกี่ยวกับกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้เท้าและศีรษะในสมัยจักรพรรดิ์ เซิงติ (Emperor Cneng Ti) (ปี 32 ก่อนคริสตกาล) มีการเล่นกีฬาที่คล้ายกับฟุตบอลซึ่งเรียกว่า"ซือ-ซู" (Tsu-Chu) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกหนังด้วยเท้า กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้ยกย่องผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เป็นวีรบุรุษของชาติ และในสมัยเดียวกันได้มีการเล่นคล้ายฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ภาคตะวันออกกลาง ในกรุงโรม ความเจริญของตะวันออกไกลได้แผ่ขยายถึงตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของสงครามโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช การเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมันและชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง การเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัม หมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมดูเหมือนจะเป็นต้นกำเนิดของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลางในการเล่นฮาร์ปาสตัม ขนาดของสนามจะเล็กกว่าสนามกีฬาซูเลอ แต่จุดประสงค์ของกีฬาทั้งสองคือ การนำลูกบอล ไปยังแดนของตน แต่เนื่องจากมีเสียงอึกทึกโครมครามจากการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า จึงมีพระบรมราชโองการในนามของพระเจ้าแผ่นดินห้ามเล่นกีฬาดังกล่าวในเมือง ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามซึ่งออกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.1892 ขอให้เล่นยิงธนูในวันฉลองต่าง ๆ แทนการเล่นเกมฟุตบอล ในโอกาสต่อมากีฬาฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างทีมต่างๆ ที่อยู่ห่างกันประมาณ 3-4 ไมล์ ( 5-6.5 กิโลเมตร- )
ในปี พ.ศ. 2344 กีฬาชนิดนี้ได้ขัดเกลาให้ดีขึ้น มีการกำหนดจำนวนผู้เล่นให้เท่ากันในแต่ละข้าง ขนาดของสนามอยู่ในระหว่าง 80 - 100 หลา (73-91 เมตร) และมีประตูทั้งสองข้างที่ริมสุดของสนามซึ่งทำด้วยไม้ 2 อัน ห่างกัน 2-3 ฟุตในปี พ.ศ. 2366 ได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอลในรูปแบบของการเล่นใน ปัจจุบัน William Alice คือผู้เริ่มวางกฎบังคับต่างๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลและรักบี้ ในปี พ.ศ. 2393 ได้มีการออกระเบียบและกฎของการเล่นไปสู่ ดินแดนต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นให้มีข้างละ 15-20 คนในปี พ.ศ. 2413 มีการกำหนดผู้เล่นให้เหลือข้างละ 11 คน โดยมีผู้เล่นกองหน้า 9 คน และผู้เล่นรักษาประตู 2 คน โดยผู้รักษาประตูใช้เท้าเล่นเหมือน 9 คนแรกจนกระทั่งให้เหลือผู้รักษาประตู 1 คน แต่อนุญาตให้ใช้มือจับลูกบอลได้ในปี พ.ศ. 2423
ในปี พ.ศ. 2400 สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรกที่เมืองเซนพัสด์ประเทศอังกฤษ และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สโมสรฟุตบอล 11 แห่งได้มารวมกันที่กรุงลอนดอนเพื่อก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ซึ่งถือเป็นรากฐานในการกำเนิดสมาคมแห่งชาติ จนถึง 140 สมาคม และทำให้ผู้เล่นฟุตบอลต้องเล่นตามกฎและกติกาของสมาคมฟุตบอล จนเวลาผ่านไปจากคำว่า Association ก็ย่อเป็น Assoc และกลายเป็น Soccer ขึ้นในที่สุด ซึ่งนิยมเรียกกันในประเทศอังกฤษ แต่ชาวอเมริกันเรียกว่า Football หมายถึง American football
ภายนอกเกาะอังกฤษ พวกกะลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า วิศวกร หรือแม้แต่นักบวชได้นำกีฬาชนิดนี้ไปเผยแพร่ ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่ 2 ในยุโรปในอเมริกาใต้ สโมสรแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อพี่น้องชาวอังกฤษ 2 คน ได้ลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเมืองบูเอโนสไอเรส (Buenos Aires) เพื่อ หาผู้อาสาสมัคร ในปี พ.ศ. 2427 กีฬาฟุตบอลก็กลายมาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนของเมืองบูเอโนสไอเรส การแข่งขันระดับชาติครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ คือ การแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย ในปี พ.ศ.2448 แต่อเมริกาเหนือเริ่มแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2435
ในอิตาลี ฮาร์ปาสตัมเป็นต้นกำเนิดจิโอโค เดล คาลซิโอ ผู้เล่นกีฬาจะเป็นผู้นำทางสังคม หรือแม้แต่ผู้นำชั้นสูงของศาสนา เช่นสันตปาปา เกลาเมนต์ที่ 7 ลีออนที่ 10 และเออร์เบนที่ 7 เป็นถึงแชมเปี้ยนในกีฬาฟลอเรนไทน์ฟุตบอล ต่อมาชาวโรมันได้ดัดแปลงเกมการเล่นฮาร์ปาสตัมเสียใหม่ โดยกำหนดให้ใช้เท้าแตะลูกบอลเท่านั้น ส่วนมือให้ใช้เฉพาะการทุ่มลูกบอล ซึ่งนักรบชาวโรมัน นิยมเล่นกันมากกีฬาฮาร์ปาสตัมซึ่งมีต้นกำเนิดจากสมัยโรมันได้ถูกแปลงมาเป็นกีฬาซูลอหรือซูเลอ กีฬาชนิดนี้เหมือนกับฮาร์ปาสตัม คือ นำลูกบอลกลับไปยังแดนของตน แต่สนามมีขนาดกว้างกว่ามาก การเล่นซูเลอมักจะมีขึ้นในบ่ายวันอาทิตย์หลังการสวดมนต์เย็น จะมีการแข่งขันสำคัญในช่วงเวลาดีคาร์นิวาล กีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเขตปริตานีและมอร์ลังดี กีฬานี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยผู้ติดตามของวิลเลี่ยมผู้พิชิตภายหลัง การรบที่เฮสติ้ง (Hasting)
เมื่อ 900 ปีกว่ามาแล้ว ประเทศอังกฤษได้ตกอยู่ในความปกครองของพวกเคนส์ เชื้อสายโรมัน ซึ่งยกกองทัพมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ และได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 1589 อังกฤษเริ่มเข้มแข็งขึ้น และสามารถขับไล่พวกเคนส์ออกจากประเทศได้ หลังจากนั้น 2-3 ปี อังกฤษจึงเริ่มปรับปรุงประเทศเป็นการใหญ่ มีการขุดอุโมงค์ตามพื้นที่หลายแห่ง ซึ่งในการขุดอุโมงค์คนงานคนหนึ่งได้ขุดไปพบกะโหลกศีรษะในบริเวณที่เคยเป็นสนามรบ และเป็นที่ฝังศพของพวกเคนส์มาก่อนทุกคนในที่นั้นแน่ใจว่าเป็นกะโหลกศีรษะของพวกเคนส์ อารมณ์แค้นจึงเกิดขึ้นทันทีเมื่อต่างคนต่างคิดถึงเหตุการณ์ที่ถูกพวกเคนส์กดขี่ทารุณจิตใจคนอังกฤษในสมัยนั้นด้วยเหตุผลนี้ คนงานคนหนึ่งจึงเตะกะโหลกศีรษะนั้นทันที ส่วนคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาเตะกะโหลกศีรษะเป็นการใหญ่ เพื่อระบายอารมณ์แค้นที่เก็บไว้อย่างสนุกสนาน ผลที่สุดเมื่อพวกนี้หากะโหลกศีรษะเตะกันไม่ได้ก็เอาถุงลมของวัวมาทำเป็นลูกกลมขึ้นเตะแทนกะโหลกศีรษะ ปรากฏว่าเป็นที่รื่นเริงสนุกสนามกันมากต่อมาชาวโรมันได้นำเกมนี้ไปเล่นในอังกฤษ จากนั้นชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงวิธีการเล่น เทคนิคการเล่น ตลอดจนกติกาให้เหมือนในสมัยปัจจุบัน คือเกมฟุตบอลที่ใช้เท้าเล่น แต่ในระยะแรกของการเล่นฟุตบอลจะเล่นกันเป็นกลุ่มๆ เฉพาะพวกคนธรรมดาเท่านั้น ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น ประตูจะห่างกันเป็นไมล์ และใช้เวลาในการเล่นหลายชั่วโมง จะเป็นการเล่นระหว่างทหารใหม่ที่ถูกเกณฑ์ นักบวช คนที่แต่งงานแล้ว คนโสด และพวกพ่อค้า เกมชนิดได้กลายเป็นสิ่งฉลองในงานพิธีต่างๆ เช่น ในวันโชรพ ทิวส์เดย์ (Shrove Tuesday) จะมีฟุตบอลนัดสำคัญให้คนได้ชม เกมในสมัยนั้นจะเล่นกันอย่างรุนแรงและมีการบาดเจ็บกันมากในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 1857 พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากมีเสียงอึกทึกครึกโครมจาการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า โดยห้ามเล่นกีฬาดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกฟุตบอลได้เริ่มแข่งขันภายใต้กฎของสมาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2412 ระหว่างทีมรัตเกอร์กับทีมบรินท์ตัน จากนั้นกิจการฟุตบอลได้เจริญขึ้นช้าๆ ในต่างจังหวัดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการตั้งสมาคมฟุตบอลต่างจังหวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และมีการฝึกสอนในปี พ.ศ. 2484
ในทวีปเอเชีย อินเดียเป็นประเทศแรกที่เริ่มเล่นฟุตบอล ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยกัลกัตตา เป็นผู้นำสำเนากฎหมายการเล่นมาเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2426 และในปี พ.ศ. 2435 ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเป็นครั้งแรก ในทวีปซึ่งยังไม่มีชื่อเสียงในด้านการเล่นฟุตบอล กีฬาชนิดนี้ก็ได้เริ่มมีการเล่นมาก่อนร่วมร้อยปีแล้ว เช่นสมาคมฟุตบอลแห่งนิวเซาท์เวลส์ ได้ถูกตั้งขึ้นในออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2425 และสมาคมฟุตบอลของนิวซีแลนด์ได้ถูกตั้งขึ้นหลังจากนั้น 9 ปีในแอฟริกา สมาคมระดับชาติแห่งแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ แต่อียิปต์เป็นประเทศแรกที่มีการแข่งขันระดับชาติในปี พ.ศ. 2467 คือ 3 ปี หลังจากที่ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้น และอียิปต์สามารถเอาชนะฮังการีได้ 3-0 ในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีสการแข่งขันระดับชาติเป็นการแข่งขันระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 และในปีแรกของศตวรรษที่ 20 โดยประเทศยุโรปอื่นๆ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2447 กลุ่มประเทศต่างๆ ในแถบนี้ได้ประชุมกันที่ปารีสเพื่อตั้งสมาคมฟุตบอลนานาชาติขึ้น ในครั้งแรกก่อนการจัดตั้งสหพันธ์ 20 วัน สเปนและเดนมาร์กไม่เคยร่วมการแข่งขันระดับชาติมาก่อน และ 3 ประเทศใน 7 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมยังไม่มีสมาคมฟุตบอลในชาติของตน แต่ฟีฟ่าก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยมา โดยมีสมาชิก 5 ชาติ ในปี พ.ศ. 2481 และ 73 ชาติ ในปี พ.ศ. 2493 และในปัจจุบันมีสมาชิกถึง 146 ประเทศ ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของฟีฟ่า ทำให้ฟีฟ่าเป็นองค์การกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกสมาพันธ์ประจำทวีปของสมาคมฟุตบอลแห่งแรกที่ตั้งขึ้นคือ Conmebol ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของอเมริกาใต้ สมาพันธ์นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อจัดตั้งเพื่อจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศภายในทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2460 เกือบครึ่งศตวรรษ ต่อมาเมื่การแข่งขันภายในทวีปได้แพร่หลายมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ในทวีปอื่นๆ ขึ้นอีกคือสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งในทวีปเอเชีย และ 2 ปี ก่อนการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Concacaf)หรือสหพันธ์ฟุตบอลแห่งอเมริกากลาง อเมริกาเหนือ และแคริบเบี้ยน ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และน้องใหม่ในวงการฟุตบอลโลกคือ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งโอเชียนเนีย (Oceannir)สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation International Football Association FIFA) ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฝรั่งเศส และประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 7 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์สมาพันธ์ฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ 1. Africa (C.A.F.) เป็นเขตที่มีสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ ประเทศแอลจีเรีย ตูนิเซีย แซร์ ไนจีเรีย และซูดาน เป็นต้น2. America-North and Central Caribbean (Concacaf) ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก คิวบา เอติ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นต้น3. South America (Conmebol) ได้แก่ ประเทศเปรู บราซิล อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี เวเนซุเอลา อีคิวเตอร์ และโคลัมเบีย เป็นต้น4. Asia (A.F.C.)เป็นเขตที่มีสมาชิกรองจากแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน จอร์แดน และเนปาล เป็นต้น5. Europe (U.E.F.A.) เป็นเขตที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮังการี อิตาลี สกอตแลนด์ รัสเซีย สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น6. Oceannir เป็นเขตที่มีสมาชิกน้อยที่สุดและเพิ่งจะได้รับการแบ่งแยก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ และปาปัวนิวกินี เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกต้องเสียค่าบำรุงเป็นรายปี ปีละ 300 ฟรังสวิสส์ หรือประมาณ 2,400 บาทสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
ในทวีปเอเชียมีการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเอเชีย (A.F.C.) เพื่อดำเนินการด้านฟุตบอล ดังนี้พ.ศ. 2495 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากประเทศในเอเชียเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย จึงได้ปรึกษาหารือกันในการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียขึ้น
พ.ศ. 2497 มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มตั้งคณะกรรมการจากชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 12 ประเทศพ.ศ. 2501 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก และมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมา




ชิกรวมเป็น 35 ประเทศพ.ศ. 2509 ฟีฟ่าได้มองเห็นความสำคัญของ A.F.C. จึงได้กำหนดให้มีเลขานุการประจำในเอเชีย โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด รวมทั้งเงินเดือน และคนแรกที่ได้รับตำแหน่งคือ Khow Eve Turk
พ.ศ. 2517 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่เตหะราน ประเทศอิหร่านได้มีการประชุมประเทศสมาชิก A.F.C. และที่ประชุมได้ลงมติขับไล่อิสราเอล ออกจากสมาชิก และให้จีนแดงเข้าเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่จีนแดงไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า นับว่าเป็นการสร้างเหตุการณ์ที่ประหลาดใจให้กับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองพ.ศ. 2519 มีการประชุมกันที่ประเทศมาเลเซีย ปรากฏว่าประเทศสมาชิกได้ลงมติให้ขับไล่ประเทศไต้หวันออกจากสมาชิก และให้รับจีนแดงเข้ามาเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่ไต้หวันเป็นประเทศที่ร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นมางานของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
1. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Cup 2. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Youth 3. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก 4. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Pre-Olympic 5. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม World Youth 6. ควบคุมการแข่งขัน Kings Cup, President Cup, Merdeka, Djakarta Cupนอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากฟีฟ่าจัดส่งวิทยากรมาช่วยดำเนินการสรุปวิวัฒนาการของฟุตบอล ก่อนคริสตกาล - อ้างถึงการเล่นเกมซึ่งเปรียบเสมือนต้นฉบับของกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่ได้มีการค้นพบจากการเขียนภาษาญี่ปุ่น-จีน และในสมัยวรรณคดีของกรีกและโรมันยุคกลาง - ประวัติบันทึกการเล่นในเกาะอังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส ปี พ.ศ. 1857 - พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 3 ทรงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามเล่นฟุตบอล เพราะจะรบกวนการยิงธนู ปี พ.ศ. 2104 - Richardo Custor อาจารย์สอนหนังสือชาวอังกฤษกล่าวถึงการเล่นว่า ควรกำหนดไว้ในบทเรียนของเยาวชน โดยได้รับอิทธิพลจาการเล่นกาลซิโอในเมืองฟลอเร้นท์ ปี พ.ศ. 2123 -Riovanni Party ได้จัดพิมพ์กติการการเล่นคาลซิโอ ปี พ.ศ. 2223 -ฟุตบอลในประเทศอังกฤษได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระเจ้ชาร์ลที่ 2 ปี พ.ศ. 2391 -ได้มีการเขียนกฎข้อบังคับเคมบริดจ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ปี พ.ศ. 2406 -ได้มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ปี พ.ศ. 2426 -สมาคมฟุตบอลจักรภพ 4 แห่ง ยอมรับองค์กรควบคุม และจัดตั้งกรรมการระหว่างชาติ ปี พ.ศ. 2429 -สมาคมฟุตบอลเริ่มทำการฝึกเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน ปี พ.ศ. 2431 -เริ่มเปิดการแข่งขันฟุตบอลลีก โดยยินยอมให้มีนักฟุตบอลอาชีพ และเพิ่มอำนาจการควบคุมให้ผู้ตัดสิน ปี พ.ศ. 2432 -สมาคมฟุตบอลส่งทีมไปแข่งขันในต่างประเทศ เช่น เยอรมันไปเยือนอังกฤษ ปี พ.ศ. 2447 - ก่อตั้งฟีฟ่า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 โดยสมาคมแห่งชาติคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ปี พ.ศ. 2480 - 2481 -ข้อบังคับปัจจุบันเขียนขึ้นตามระบบใหม่ขององค์กรควบคุม โดยใช้ข้อบังคับเก่ามาเป็นแนวทาง


















ตะกร้อ


ตะกร้อ : ประวัติตะกร้อ
-->
ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า "ชิงลง"
ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K'au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด

ประวัติตะกร้อในประเทศไทย
ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้
โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา
การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า, หนังสัตว์, หวาย, จนถึงประเภทสังเคราะห์ (พลาสติก)ความหมาย
คำว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า "ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ"วิวัฒนาการการเล่น
การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร
ตะกร้อนั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น
- ตะกร้อข้ามตาข่าย
- ตะกร้อลอดบ่วง
- ตะกร้อพลิกแพลงเป็นต้น
เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตามประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้
พ.ศ. 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม
พ.ศ. 2476 สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2479 ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย
พ.ศ. 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ
พ.ศ. 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง
พ.ศ. 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย
พ.ศ. 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ
- ตะกร้อวง
- ตะกร้อข้ามตาข่าย
- ตะกร้อลอดบ่วง
อีกทั้งมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย
พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก บทบาทของประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้น จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย หรือที่เรียกว่า "เซปักตะกร้อ" และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจุบันประโยชน์และความมุ่งหมายของกีฬาตะกร้อประโยชน์
ในประเทศไทย พลเมืองส่วนมากชอบที่จะดูและเล่นตะกร้อกันโดยทั่วไป แต่การที่จะเล่นให้ได้ดีต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและยาวนาน กีฬาตะกร้อเป็นกีฬาที่สนุกสนานต่อเนื่องเล่นได้ไม่จำกัด เพียงแต่เราฝึกหัดเบื้องต้นเพียงเล็กน้อยก็สามารถเล่นกีฬาตะกร้อได้แล้ว ราคาของอุปกรณ์ที่ถูกและทนทานใช้สถานที่ในการเล่นน้อย มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น
- ช่วยให้ประสาททุกส่วนว่องไวและตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยในการทรงตัว
- ช่วยด้านจิตใจ สุขุม รู้แพ้รู้ชนะ การให้อภัย
- ลดความเครียด
- ทำให้ร่างกายแข็งแรงความมุ่งหมาย
กีฬาตะกร้อนั้นอาจจะสรุปความมุ่งหมายในธรรมชาติของกีฬาตะกร้อได้อย่างกว้างๆดังนี้คือ
- เล่นง่าย คือเล่นสนุกสนานแต่ถ้าเล่นให้ได้ดีก็ควรต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
- ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ในการเล่น
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์และเวลาในการเล่น
- ทำให้เกิดการตื่นตัว
- ทำให้จิตใจสุขุมเยือกเย็น
- มีระบบในการตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้อง
- ทำให้มีระบบประสาททางความคิดดี
- มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงไร้โรคภัยต่างๆ
- ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน
- ทำให้เกิดความสามัคคีทั้งในหมู่คณะและส่วนรวม
- ทำให้รู้จักการรวมกลุ่มในสังคม การเข้าสังคม
- รู้จักการสร้างความปลอดภัยในการเล่น
- ใช้เป็นแนวทางในการเล่นกีฬาชนิดอื่นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ฟุตบอล
- สามารถใช้เป็นแนวทางในการถ่ายทอดศิลปะและอนุรักษ์ศิลปะประจำชาติได้อีกด้วย



บาสเกตบอล




ประวัติกีฬาบาสเกตบอลต่างประเทศ
กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม มีผู้เล่นฝ่ายละ ๕ คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำลูกบาสเกตบอลไปโยนลงห่วงประตูของฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้มากที่สุด โดยมีทักษะการเล่น ได้แก่ การส่ง – รับลูกการเลี้ยงลูกและการยิงประตู กีฬาบาสเกตบอลมีกำเนิดขึ้น เป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจาก ดร. เจมส์ เอ เนสมิท (JamesA.Naismith) ได้คิดขึ้นเพื่อเล่นในโรงพลศึกษาของโรงเรียนฝึกอบรม ของสมาคมวายเอ็มซีเอนานาชาติ(International Young Men’s Christian Association Training School) ที่เมือง สปริงฟีลด์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ ในช่วงที่มีหิมะตก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๑ (พ.ศ. ๒๔๓๔) โดยใช้ตะกร้าลูกพีช ๒ ใบแขวนเป็นประตู จึงทำให้กีฬานี้ได้ชื่อว่าบาสเกตบอล (Basketball) การเล่นครั้งนั้นใช้ ลูกฟุตบอลเป็นลูกบอล มีผู้เล่นทั้งหมด ๑๘ คน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๙ คน มีกฎการเล่น ๔ ข้อ คือ ๑. ห้ามถือลูกเคลื่อนที่ ๒. ห้ามมิให้ผู้เล่นปะทะตัวกัน ๓. ประตูอยู่ระดับศีรษะและขนานพื้น ๔. ผู้เล่นจะถือลูกบอลนานเท่าใดก็ได้ และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่ถูกตัวผู้เล่น ต่อมามีการปรับปรุงการเล่นเป็น ๑๓ ข้อโดยลดผู้เล่นเหลือฝ่ายละ ๕ คน เนื่องจากในการเล่นเกิดการ ปะทะกันเพราะสนามแคบ ดังนั้นจึงทำให้เกมการเล่นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทั้งยังลดการปะทะกันอีกด้วย ในปัจจุบันกติกาการเล่นดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ ณ โรงพลศึกษาเมืองสปริงฟีลด์ คือ ๑. การโยนลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือโดยไปในทิศทางใดก็ได้ ๒. การตีลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือตีไปทิศทางใดก็ได้ ๓. ผู้เล่นจะพาลูกบอลวิ่งไม่ได้ และต้องส่งตรงจุดรับลูกบอล ยกเว้นขณะที่วิ่งมารับลูกด้วยความเร็วให้เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย ๔. ต้องจับลูกบอลด้วยมือทั้งสองข้าง โดยไม่ให้ใช้ส่วนอื่นของร่างกาย ๕ . การเล่นจะชน คือผลักหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามล้ม ถือว่าฟาวล์หนึ่งครั้ง ถ้าฟาวล์ครั้งที่สอง ให้ออกจากการแข่งขัน จนกว่าจะมีผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยิงประตูได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าเกิดการบาดเจ็บขณะเล่นไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัว ๖. การทุบด้วยกำปั้นถือว่าผิดกติกาให้ปรับเช่นเดียวกับ ข้อ 5 ๗ . ทีมใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู ๘. การได้ประตูทำได้โดยการโยนหรือปัดลูกบอลให้ขึ้นไปค้างบนตะกร้า ๙. เมื่อลูกบอลออกนอกสนาม ผู้เล่นนที่จับลูกบอลคนแรกเป็นผู้ทุ่มลูกเข้ามาเล่นต่อ กรณีที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครก่อนหลังผู้ตัดสินจะส่งลูกบอลเข้ามาให้ ผู้ส่งจะต้องส่งลูกบอล เข้าสนามภายใน 5 วินาที ถ้าช้ากว่านี้จะให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามส่งแทน ถ้าผู้เล่นถ่วงเวลา การเล่นให้ปรับฟาวล์ ๑๐.ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินผู้ฟาวล์ และลงโทษผู้เล่น ๑๑.ผู้ตัดสินทำหน้าที่ตัดสินลูกบอลออกนอกสนาม และรักษาเวลา บันทึกจำนวนลูกที่ได้ และทำหน้าที่ทั่วไปของผู้ตัดสิน ๑๒.การเล่นแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที ๑๓.ฝ่ายที่ทำประตูได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะหัวหน้าทีมจะตกลงกันถ้าคะแนนเท่ากัน เพื่อต่อเวลาแข่งขัน ถ้าฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ กติกานี้ใช้มาจนถึง ค.ศ. ๑๙๓๗ (พ.ศ. ๒๔๘๐) จึงได้ปรับปรุงแก้ไขครั้งใหญ่เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ ๑๑ ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศสเยอรมนี และใน ค.ศ. ๑๙๓๙ (พ.ศ. ๒๔๘๒) ดร.เจมส์ เอ. เนสมิท ก็เสียชีวิตลง ก่อน จะได้เห็นความสำเร็จ และความยิ่งใหญ่ในกีฬาบาสเกตบอลที่เขาคิดค้นขึ้น ต่อมาจากนั้นกีฬาบาสเกตบอลก็แพร่หลายพัฒนาการเล่นเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วเป็นที่รู้ ้จักกันทั่วโลก องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกีฬาบาสเกตบอลในระดับนานาชาติ ได้แก่ สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (ชื่อภาษาอังกฤษ International Amateur Basketball Federation ชื่อภาษาฝรั่งเศส Fe’de’ration International de Basketball Amateur ใช้ชื่อย่อว่า FIBA) นอกจากนี้ยังมีองค์กรในระดับทวีป เช่น สมาพันธ์บาสเกตบอลเอเชีย (Asian Basketball Confederation หรือ ABC) เป็นต้น
ประวัติกีฬาบาสเกตบอลในประเทศ
ประเทศไทยเริ่มเล่นกีฬาบาสเกตบอลกันตั้งแต่เมื่อใด สมัยใด ยังไม่มีหลักฐานยืนยันอย่างแน่ชัด แต่เท่าที่ค้นคว้าและมีหลักฐานยืนยันว่าในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ นายนพคุณพงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีนได้แปลกติกา การเล่นบาสเกตบอลจากภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ ๒๔๗๗ กรมพลศึกษาได้จัดการแข่งขันกีฬา บาสเกตบอลระดับนักเรียนขึ้น เป็นครั้งแรก สมัยที่ น.อ หลวงศุภชลาศัย ร.น ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพลศึกษา พ.ศ ๒๔๙๕ ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลระหว่างนักเรียนหญิง และการแข่งขันระหว่างประชาชนทั่วๆไป พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มีการจัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย และได้เป็นสมาชิก สมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศตั้งแต่ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๙๖ ปัจจุบันกีฬาบาสเกตบอลถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแทบ ทุกระดับการศึกษา คือตั้งแต่ระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังมี การแข่งขัน อยู่ตลอดเวลา องค์กรสำคัญที่ส่งเสริมและจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล ในประเทศไทย ได้แก่ สมาคมบาเกตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ กรมพลศึกษา กรุงเทพมหานครการกีฬาแห่งประเทศไทย ทบวงมหาวิทยาลัย (กีฬามหาวิททยาลัย) กองทัพ (กีฬาเหล่าทัพ) กองทัพอากาศ (กีฬานักเรียน) สถาบันการศึกษาทั่วไป
ประโยชน์ของการเล่นกีฬาบาสเกตบอล
กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาที่ทำให้ผู้เล่นได้รับประโยชน์ดังนี้๑. ช่วยพัฒนาส่งเสริมสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมแก่บุคคล๒. ช่วยพัฒนาส่งเสริมกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกาย (motor skills) ให้ทำงานประสาน กันดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมือ เท้า สายตาให้เคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง๓. เป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับพักผ่อน คลายความตึงเครียด แก่ผู้เล่นและผู้ชม๔. ช่วยฝึกการตัดสินใจ และรู้จักคิดแก้ปัญหา ตลอดจนมีสมาธิที่ดี๕. ช่วยฝึกให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และรู้จักให้อภัย๖. ใช้เป็นสื่อนำในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและส่วนรวม๗. ใช้เป็นสื่อนำในการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา๘. ผู้เล่นที่มีความสามารถจะทำชื่อเสียงให้แก่ตัวเอง วงศ์ตระกูล และประเทศชาติ๙. เป็นวิชาชีพด้านหนึ่งสำหรับงานกีฬา เช่น การแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลอาชีพ เป็นต้น

ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาบาสเกตบอล
การเล่นกีฬาบาสเกตบอลเป็นการเล่นหลายคนและเล่นด้วยความรวดเร็วต้องใช้ความคล่องตัว สูงในสนามที่มีเนื้อที่จำกัด ะนั้นผู้เล่นต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของการเล่นเพื่อความปลอดภัยในการ เล่นกีฬาบาสเกตบอล ผู้เล่นจึงควรมีหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้ ๑. ควรมีสภาพร่างกายพร้อมที่จะเล่น ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอันตรายจากการออกกำลังกาย ๒. ก่อนการเล่นควรตรวจสภาพของสนามให้เรียบร้อยมั่นคง แข็งแรง พื้นสนามต้องเรียบไม่ลื่น ไม่มีหลุม บ่อ ไม่มีสิ่งกีดขวาง เสาและห่วงประตูอยู่ในสภาพใช้งานได้ ๓. ต้องแต่งกายชุดเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับการเล่นบาสเกตบอล สวมเสื้อ กางเกง ถุงเท้ารองเท้า ที่ไม่หลวม หรือคับเกินไป ๔. ลูกบอลต้องไม่อ่อน หรือแข็งเกินไป ๕. ในการเล่นต้องปฏิบัติตามกติกาโดยเคร่งคัด ไม่ล้อเลียนหรือกลั่นแกล้งเพื่อนระหว่างการเล่นหรือขณะฝึกซ้อม ๖. ไม่เล่นหรือฝึกซ้อมจนเกินกำลังความสามารถของร่างกาย ๗. ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยของผู้เล่นอื่น และเพื่อป้องกันอันตรายขณะรับลูกบอล ๘. ควรฝึกจากทักษะที่ง่าย ไปหาทักษะที่ยาก หรือฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป ๙. ไม่เล่นในที่มืด หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ ๑๐.ไม่ควรฝึกในสนามกลางแจ้ง แดดร้อนจัด หรือฝนตกฟ้าร้อง ๑๑.ไม่ใส่เครื่องประดับเช่น นาฬิกา แหวน สร้อยข้อมือ สร้อยคอหรือเข็มขัด เพราะจะเป็นอันตรายแก่ตนเอง และผู้อื่นได้ ๑๒.ไม่ควรใส่แว่นตาระหว่างการเล่น ถ้าจำเป็นควรใช้แว่นที่เป็นพลาสติก หรือชนิดที่ไม่แตก และให้มียางรัดติดกับท้ายทอยด้วย ๑๓.ในกรณีที่จะมีการแข่งขัน ควรฝึกซ้อมให้ร่างกายมีสมรรถภาพดีพร้อมที่จะเข้าแข่งขันได้ ๑๔.ถ้าตนเองไม่ได้ฝึกซ้อม หรือฝึกซ้อมไม่เพียงพอไม่ควรลงแข่งขันโดยเด็ดขาด

การดูแลรักษาอุปกรณ์กีฬาบาสเกตบอล

การดูแลรักษาอุปกรณ์กีฬาบาสเกตบอล๑. ไม่นำลูกบาสเกตบอลมาใช้เป็นที่รองนั่ง หรือยืนจะทำให้ลูกบาสเกตบอลผิดรูปทรง ๒. อุปกรณ์การเล่นเมื่อเลิกเล่นแล้วต้องสำรวจดูให้ครบถ้วนและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย๓. ห้ามกระโดดเกาะ โยกเสาประตูหรือห้อยโหนห่วงประตูเล่น๔. จัดเวรนำอุปกรณ์ และเก็บอุปกรณ์ไปไว้ในที่เก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ๕. ลูกบาสเกตบอลควรสูบลมให้มีความแข็งถูกต้องตามกติกา๖. ในการปล่อยลมลูกบาสเกตบอลไม่ควรใช้ไม้ ลวด ตะปู หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่ใช่เครื่องปล่อยลม๗.ห้ามนำลูกบาสเกตบอลไปเล่นผิดประเภทกีฬา เช่นนำไปเตะ๘. ถ้าลูกบาสเกตบอลเปียกน้ำหรือเปรอะเปื้อนให้เช็ดทำความสะอาดเก็บไว้ในที่ร่ม มีลมพัดผ่านแทนการผึ่งแดด๙. รักษาพื้นสนามให้เรียบ สะอาด และเส้นสนามควรชัดเจนให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเล่น๑๐.สำรวจเสาประตู กระดานหลัง หรือห่วงให้แน่นหนาแข็งแรง และปลอดภัย๑๑.ตาข่ายควรใช้เทปหรือลวดพันยึดให้ติดแน่นกับห่วงประตูอยู่เสมอ๑๒.สนับเข่า ผ้าพันข้อเท้า ชุดฝึกหรือชุดแข่งขันควรซัก และตากให้แห้งและอยู่ในสภาพ ที่พร้อมใช้ได้เสมอ
มารยาทของผู้เล่นและผู้ดูกีฬาบาสเกตบอลที่ดี
มารยาทของผู้เล่นกีฬาบาสเกตบอลที่ดี
๑. มีความรู้เรื่องระเบียบและกฎกติกาการเล่น๒. แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมต่อการเล่นหรือการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล๓. เล่นกีฬาด้วยความสนุกสนานและมีมารยาท มีความสุภาพทั้งกิริยาท่าทางตลอดจนคำพูด๔. ให้เกียรติและเชื่อฟัง ยอมรับคำตัดสินของผู้ตัดสิน๕. มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย๖. เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา ๗. ไม่ควรดูถูกความสามารถผู้อื่น จะด้วยวาจาหรือท่าทาง ๘. ควรแสดงความยินดีและชมเชยเมื่อผู้เล่น เล่นได้ดี๙. ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้างเมื่ออุปกรณ์มีจำกัด ๑๐. ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการยั่วยุหรือกลั่นแกล้งผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม๑๑. ต้องเล่นตามระเบียบตามกติกาที่กำหนดไว้๑๒. เชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้าทีมหรือผู้ฝึกสอน และต้องปฏิบัติตาม๑๓. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย๑๔. รู้จักระงับอารมณ์เมื่อเกิดการยั่วยุจากฝ่ายตรงข้าม๑๕. ไม่ครอบครองลูกบอลแต่เพียงผู้เดียวต้องแจกจ่ายให้เพื่อนร่วมทีมบ้าง๑๖. เมื่อเล่นกีฬาแพ้หรือชนะไม่ควรดีใจหรือเสียใจจนเกินไป๑๗. การเล่นกีฬาต้องเล่นอย่างสุดความสามารถไม่ว่าตนเองจะเป็นฝ่ายแ้พ้หรือชนะ๑๘. หลังจากการแ่ข่งขันแล้วไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะจะต้องฝึกซ้อมให้ดียิ่งขึ้น๑๙. มีความตั้งใจในการฝึกซ้อม และมีความอดทน๒๐. ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ในขณะฝึกซ้อมหรือแ่งขัน๒๑. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
มารยาทของผู้ชมกีฬาบาสเกตบอลที่ดีี
๑. ปรบมือแสดงความยินดีแก่ผู้เล่นที่เล่นได้ดี ผู้เล่นมีมารยาทดี ทีมชนะการแข่งขันหรือผู้เล่น ที่ได้รับรางวัล ๒. ไม่แสดงอาการหรือส่งเสียงยั่วยุจนทำให้ผู้เล่นหรือกองเชียร์ฝ่ายตรงข้ามเกิดโทสะ๓. ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนด่า ใช้สิ่งของขว้างปานักกีฬา ผู้ตัดสิน ผู้ชม หรือคัดค้านการตัดสิน๔. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือเสพเครื่องดื่มมึนเมาขณะชมการแข่งขัน ๕. ไม่แสดงกริยาท่าทาง ส่งเสียง ยั่วยุอันเป็นอุปสรรคต่อการเล่นของผู้เล่น และผู้ตัดสิน๖. นั่งดูด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยในที่ที่จัดไว้ ไม่ยืนเกะกะบังผู้อื่น๗. ปรบมือให้เกียรติเมื่อกรรมการผู้ตัดสินและนักกีฬาลงสนาม๘. ควรศึกษากฏกติกาการแข่งขันกีฬาที่ตนดูเป็นอย่างดี๙. การชมเป็นหมู่คณะ ควรนั่งรวมกันเป็นกลุ่มและเชียร์ด้วยเพลงสุภาพ๑๐.ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในเมื่อเกิดเหตุความวุ่นวายในสนาม ๑๑. สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกชนิดเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ๑๒. ไม่ควรเปล่งวาจาสนับสนุนผู้เล่นในทางที่ผิด
ความเป็นผุ้มีน้ำใจนักกีฬา
ลักษณะของความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬาคือ จะแพ้ หรือชนะไม่สำคัญ ข้อสำคัญคือ ได้มีส่วนร่วมในการแข่งขัน และได้ทำการแข่งขันอย่างเต็มความสามารถ เชื่อฟังผู้ตัดสินไม่ฝ่าฝืนกฏกติกาของการเล่น รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย ฯลฯ ซึ่งมีหลักการปฏิบัติเพื่อแสดงความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา คือ๑. ปฏิบัติตามกฏกติกาของการเล่น๒. ซื่อสัตย์สุจริตต่อคู่แข่งขัน และเพื่อนฝูง๓. เป็นผู้รู้จักข่มใจ รักษาสติไม่ให้โมโหโทโส๔. เป็นผู้ที่รักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ๕. หากปราชัยก็ทำใจให้หนักแน่น๖. หากมีชัยก็ไม่แสดงความภูมิใจจนออกนอกหน้า๗. เป็นผู้ที่ผุดผ่องทั้งกาย วาจา ใจ อยู่เสมอ๘. เล่นกีฬาเพื่อชั้นเชิงของการกีฬา ไม่ใช่เล่นกีฬาเพื่อจะทะเลาะวิวาทกัน๙. เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผือแผ่ ๑๐.เป็นผู้สุภาพอ่อนโยน๑๑.เป็นผู้มีใจคอกว้างขวาง๑๒.เป็นผู้มีความอดทน กล้าหาญ๑๓.เป็นผู้มีความเชื่อฟังและเคารพต่อเหตุผล๑๔.เป็นผู้รักษาความยุติธรรม๑๕.เป็นผู้รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย






ว่ายน้ำ ๆ




ประวัติว่ายน้ำ ความเป็นมาของ กีฬาว่ายน้ำ ที่มาที่ไป




กีฬาว่ายน้ำ (Swimming) ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามชายทะเล แม่น้ำ ลำคลอง และที่ราบลุ่มต่างๆ เช่น พวกเอสซีเรีย อียิปต์ กรีก และโรมัน มีการฝึกหัดว่ายน้ำกันมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล เพราะมีผู้พบภาพวาดเกี่ยวกับการว่ายน้ำในถ้ำบนภูเขาแถบทะเลทรายลิบยาน
การว่ายน้ำในสมัยนั้นเพียงเพื่อให้สามารถว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ หรือเมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมป่าและที่อยู่อาศัยก็สามารถพาตัวไปในที่น้ำท่วมไม่ถึงได้อย่างปลอดภัย
การว่ายน้ำได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่มีหลักฐานบันทึกไว้ไม่นานนัก Ralph Thomas ให้ชื่อแบบว่ายน้ำที่มนุษย์ใช้ว่ายกันมาตั้งแต่เดิมว่า ฮิวแมน สโตร์ก (Human stroke) นอกจากนี้พวกชนชาติสลาฟและพวกสแกนดิเนเวียรู้จักการว่ายน้ำอีกแบบหนึ่ง โดยใช้เท้าเคลื่อนไหวในน้ำคล้ายกบว่ายน้ำ หรือที่เรียกว่าฟล็อกคิก (Flogkick) แต่วิธีการเคลื่อนไหวของท่าแบบนี้จะทำให้ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก
การแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดขึ้น วูลวิช บาร์ท (Woolwich Baths) ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2416 การแข่งขันครั้งนั้นมีการแข่งขันเพียงแบบเดียวคือ แบบฟรีสไตล์ (Free style) โดยผู้ว่ายน้ำแต่ละคนจะว่ายแบบใดก็ได้ ในการแข่งขันครั้งนี้ J. Arhur Trudgen เป็นผู้ได้รับชัยชนะ โดยเขาได้ว่ายแบบเดียวกับพวกอินเดียแดงในอเมริกาใต้ คือแบบยกแขนกลับเหนือน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการว่ายน้ำของเขาได้กลายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากจนได้ชื่อว่า ท่าว่ายน้ำแบบทรัดเจน (Trudgen stroke)
ประชาชนชาวโลกได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการว่ายน้ำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเรือเอก Mathew Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษจากเมืองโดเวอร์ คาเลียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2418 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง 45 นาที ด้วยการว่ายแบบกบ (Breast stroke) ข่าวความสำเร็จอันนี้ได้สร้างความพิศวงและตื่นเต้นไปทั่วโลก ต่อมาเด็กชาวอเมริกันชื่อ Gertude Ederle ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2469 ทำเวลาได้ 14 ชั่วโมง 31 นาที โดยว่ายน้ำแบบท่าวัดวา (Crawa stroke) จะเห็นได้ว่าในชั่วระยะเวลา 50 ปี
การว่ายน้ำได้วิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าหากได้พิจารณาถึงเวลาของคนทั้งสองที่ทำได้ แบบและวิธีว่ายน้ำได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเร็วขึ้นเสมอ ในบรรดานักว่ายน้ำทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแลนเคเชียร ์และออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีว่ายน้ำแบบทรัดเจน ซึ่งก็ได้รับผลดีในเวลาต่อมา กล่าวคือ Barney Kieran ชาวออสเตรเลียและ T. S. Battersby ชาวอังกฤษ ได้ว่ายน้ำแบบที่ปรับปรุงมาจากทรัดเจน เป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2449-2415
Alex Wickham ชาวเกาะโซโลมอนเป็นผู้ริเริ่มการว่ายน้ำแบบท่าวัดวาและเป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลก ระยะทาง 50 หลา เขาได้กล่าวว่าเด็กโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำแบบนี้ทั้งนั้น ต่อมาท่าว่ายน้ำแบบวัดวาจึงเป็นที่นิยมฝึกหัดกันโดยทั่วไป
กีฬาว่ายน้ำได้จัดเข้าไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2436 และได้จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวกีฬาว่ายน้ำก็ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการพัฒนากีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ โดยมีผู้คิดแบบและประเภทของการว่ายน้ำเพื่อความสนุกสนาน และความตื่นเต้นในการแข่งขันมากขึ้น

กติกาว่ายน้ำ

การตัดสิน
ลำดับที่ผู้แข่งขันทุกคนจะกำหนดโดยการเปรียบเทียบเวลาที่เป็นทางการของแต่ละคนถ้าเวลาทางการเท่ากันหลายๆ คน ก็ให้ลำดับที่เท่ากันในรายการนั้นๆ ได้

ผู้ควบคุมการแข่งขัน
ผู้ตัดสินชี้ขาด 1 คน
กรรมการดูฟาวล์ 4 คน
ผู้ปล่อยตัว 2 คน
หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2 คน
กรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2 คน
หัวหน้าผู้บันทึก 1 คน
ผู้บันทึก 1 คน
ผู้รับรายงานตัว 2 คน
กรรมการเชือกฟาวล์ 1 คน
ผู้ประกาศ 1 คน

จากการแข่งขันไม่สามารถใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติได้ จะต้องมีการแต่ตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ

หัวหน้าผู้จับเวลา 1 คน
ผู้จับเวลาลู่ละ 3 คน
(กรรมการจับเวลาสำรอง 2 คน)
หัวหน้าเส้นชัย 1 คน
กรรมการเส้นชัย (อย่างน้อย) 1 คน

หน้าที่
- ผู้ตัดสินชี้ขาด เป็นผู้ควบคุมและมีอำนาจสูงที่สุด โดยจะมอบหมายหน้าที่ และให้คำชี้แนะกับเจ้าหน้าที่ต่างๆ จะต้องตัดสินปัญหาทุกชนิดการตัดสินขั้นสุดท้ายถือเป็นสิ้นสุดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- ผู้ปล่อยตัว มีอำนาจควบคุมการแข่งขันอย่างเต็มที่ เมื่อได้รับสัญญาณมือจากผู้ตัดสินชี้ขาด การปล่อยตัวแต่ละรายการผู้ปล่อยตัวจะอยู่หางจากสระ 5 เมตร
- ผู้รับรายงานตัว ต้องเตรียมกรอกรายชื่อนักว่ายน้ำลงในแบบฟอร์มแต่ละรายการก่อนการแข่งขัน
- หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว ดูแลว่าเจ้าหน้าที่ดูการกลับตัวทุกคน ทำหน้าที่ในการแข่งขันเป็นอย่างดี เมื่อพบเห็นว่ามีการทำผิดกติกาจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที่
- กรรมการดูการกลับตัว ต้องดูแลและเตือนเมื่อนักว่ายน้ำในลู่ของตนว่ายเข้ามาเหลือระยะทางอีก 5 เมตร
- กรรมการดูการฟาวล์ ต้องเป็นผู้เข้าใจในกติกาเป็นอย่างดี และจะต้องช่วยดูการกลับตัวจากผู้ช่วยกรรมการกลับตัว และจะต้องทำการบันทึกการทำผิดกติกาของแต่ละลู่ ให้ต่อผู้ตัดสินชี้ขาด
- หัวหน้าผู้จับเวลา ต้องเก็บรวบรวมแบบฟอร์มบันทึกเวลาของกรรมการจับเวลาทุกคน ในกรณีที่นาฬิกาจับเวลาไม่สามารถจับเวลาได้ หัวหน้าผู้จับเวลาอาจทำการตรวจสอบนาฬิกาเรือนนั้น
- กรรมการจับเวลา นาฬิกา แต่ละเรือนจะต้องได้รับจากคณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน จะต้องเดินเวลาเมื่อมีสัญญาณเริ่ม และต้องหยุดเวลาเมื่อผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายของเขาได้สิ้นสุดการว่ายที่สมบูรณ์
- หัวหน้ากรรมการเส้นชัย เป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ และกรรมการเส้นชัยจะรวบรวมข้อมูลลำดับที่ให้หัวหน้ากรรมการเส้นชัย หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องนำส่งผลต่อผู้ตัดสินชี้ขาด และจะต้องบันทึกข้อมูลการแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องอัตโนมัติ ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการสิ้นสุด
- กรรมการเส้นชัย มีหน้าที่กดปุ่มสัญญาณเท่านั้นจะต้องไม่ทำหน้าที่ก้าวก่ายการจับเวลาในรายการเดียวกัน
- เจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน รับผิดชอบตรวจสอบผลการแข่งขัน กรรมการทุกคนจะต้องตัดสินใจด้วยตัวของตัวเอง นอกเสียจากว่าปัญหานั้นๆ กติกาได้บอกไว้อย่างชัดเจนแล้ว

การจับเวลา
- ให้มีจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
- ถ้านาฬิกาจับเวลา 2 ใน 3 เรือน เท่ากันให้ใช้การจับเวลานั้น
- ถ้านาฬิกาทั้ง 3 เรือนนั้น ไม่ตรงกัน ให้ใช้เวลาของนาฬิกาที่เป็นเวลาที่เป็นทางการ

แนะนำการดูว่ายน้ำ

1. การจัดเข้าลู่ว่ายในรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ
1.1 การแข่งขันอื่นๆ อาจใช้ระบบจับฉลากเป็นเครื่องกำหนดตำแหน่งลู่ว่ายของผู้เข้าแข่งขันได้
1.2 ถ้าเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ การจัดเข้าสู่ลู่ว่าย ดังนี้
- รอบคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องแจ้งเวลาว่ายของตนไม่เกิน 12 เดือน ไว้ในใบสมัครใครไม่แจ้งถือว่ามีเวลาช้าที่สุด และอยู่ในลำดับสุดท้ายของบัญชีรายชื่อ ถ้ามีหลายคนให้ตัดสินโดยการจับฉลาก
- ถ้ามี 2 ชุด ผู้มีเวลาเร็วที่สุดให้อยู่ในชุดที่ 2 ให้ผู้มีเวลาเร็วคนที่ 2 อยู่ในชุดที่ 1 ผู้มีเวลาเร็วเป็นคนที่ 3 ให้อยู่ในชุดที่ 2 และผู้มีเวลาเร็วคนที่ 4 อยู่ในชุดที่ 1 สลับไปเรื่อยๆ
- ถ้ามี 3 ชุด ผู้มีเวลาเร็วที่สุดอยู่ในชุดที่ 3 ผู้ที่มีเวลาเร็วคนที่ 2 อยู่ในชุดที่ 2 ผู้มีเวลาเร็วคนที่ 3 อยู่ในชุดที่ 1 สลับไปเรื่อย (ชุด 3-2-1)
- ถ้ามี 4 ชุด หรือมากกว่า ใน 3 ชุด ให้จัดเหมือนกันกับชุดที่ 3 โดยที่ผู้มีเวลาเร็วที่สุดให้ไปชุดที่ 4 (ชุด 4-3-2-1) การกำหนดลู่ของการว่าย 50 เมตร ลู่หมายเลข 1 จะอยู่ทางขวาของสระเมื่อยืนหันหน้าไปทางปลายสระ ผู้มีเวลาเร็วที่สุดจะอยู่กลางสระลู่ที่ 3 หรือ 4 คนที่มีเวลารองลงไปให้อยู่ทาง...มือของคนแรก คนที่มีเวลารองลงไปอีกให้อยู่ทาง...มือของคนแรก สลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าเวลาเท่ากันให้จับฉลาก

2. การเริ่มต้นแตกต่างกัน ดังนี้
2.1 ฟรีสไตล์ , กบ และผีเสื้อ จะต้องเริ่มโดยการกระโดดพุ่งตัวออกจากแท่นกระโดดลงไปในน้ำ
2.2 กรรเชียง และผลัดผสม จะต้องเริ่มจากในน้ำ
2.3 การเริ่มต้นที่มีการฟาวล์เกิดขึ้น จะต้องมีเสียงสัญญาณการฟาวล์ และจะต้องปล่อยเชือกฟาวล์ลงไปในน้ำด้วย
3. แบบของการว่าย มีหลายแบบ คือ
3.1 การว่ายแบบฟรีสไตล์ คือการว่ายแบบใดก็ได้ยกเว้นการว่ายแบบเดี่ยวผสม หรือผลัดผสมจะต้องว่ายนอกเหนือจากการว่ายแบบกรรเชียง, กบ หรือผีเสื้อ การกลับตัวก็สามารถที่จะใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดแตะขอบสระได้
3.2 การว่ายแบบกรรเชียง จะต้องถีบตัวออกในลักษณะนอนหงาย ต้องว่ายในท่านอนหงายตลอดการแข่งขัน บางส่วนของร่างกายต้องพ้นผิวน้ำตลอดการแข่งขัน ยกเว้นเวลากลับตัวจะจมน้ำไม่เกิน 15 เมตร เมื่อกลับตัวแล้วจะต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายแตะผนังสระและเข้าเส้นชัยในท่านอนหงาย
3.3 การว่ายแบบกบ จะต้องอยู่ในลักษณะคว่ำหน้า แขนทั้ง 2 ข้างจะต้องเคลื่อนไหวไปพร้อมกัน มือทั้ง 2 ต้องพุ้งไปข้างหน้าพร้อมกันส่วนข้อศอกอยู่ใต้ผิวน้ำเมื่อดึงมือไปข้างหน้าพร้อมกันจะต้องอยู่ใต้ผิวน้ำ ขาทั้ง 2 ต้องเคลื่อนที่พร้อมกัน การเตะเท้า เตะไปด้านหลัง การกลับตัว การเข้าเส้นชัยต้องแตะด้วยมือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน การดึงแขน 1 ครั้ง และการเตะขา 1 ครั้ง จะต้องมีบางส่วนของศีรษะโผล่พ้นระดับให้เห็น ยกเว้นการกลับตัวให้ดำน้ำได้ 1 ครั้ง
3.4 การว่ายแบบผีเสื้อ จะต้องคว่ำหน้าตลอดระยะทาง ไม่ให้ม้วนตัวหงายกลับในการกลับตัว แขนทั้ง 2 จะต้องยกเหนือน้ำพร้อมๆ กัน การเข้าเส้นชัย และการกลับตัวจะต้องแตะขอบสระด้วยมือทั้ง 2 พร้อมๆ กันดึงแขนใต้น้ำได้ 1 ครั้งเท่านั้น
3.5 การว่ายแบบผสม
3.5.1 การว่ายแบบเดี่ยวผสม ผู้เข้าแข่งขันจะต้องว่าย 4 แบบ ตามลำดับ ผีเสื้อ, กรรเชียง, กบ, และฟรีสไตล์
3.5.2 การว่ายแบบผลัดผสม มีผู้เข้าแข่งขัน 4 คน ต้องว่ายคนละ 1 แบบ ตามลำดับ คือ กรรเชียง, กบ, ผีเสื้อ และฟรีสไตล์
4. การแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องว่ายตลอดระยะทางที่กำหนดไว้ ต้องเข้าเส้นชัยตามลู่เดิมที่เขาตั้งต้น การกลับตัวต้องกระทำกับผนังหรือขอบสระเท่านั้น ไม่อนุญาตให้เดินหรือก้าวที่ก้นสระ ผู้ที่ว่ายเข้าไปในลู่ของคนอื่นจะถูกปรับให้แพ้ การแข่งขันว่ายผลัดจะต้องมีทีมละ 4 คน และถ้าผู้เล่นคนใดกระโดดออกจากแท่นก่อนที่เพื่อนร่วมทีมจะว่ายเข้ามาแตะผนังสระ จะต้องให้ออกจากการแข่งขัน ยกเว้นขากลับมาแตะอีกครั้งหนึ่ง...... โดยไม่ต้องขึ้นไปกระโดด ผู้ว่ายผลัดเมื่อว่ายเสร็จแล้ว จะต้องขึ้นจากสระทันที

ชนิดของการแข่งขัน (จะมีการบันทึกเป็นสถิติโลก)
ฟรีสไตล์ 50, 100, 200, 400, 800 และ 1,500 เมตร
กรรเชียง 100 และ 200 เมตร
กบ 100 และ 200 เมตร
ผีเสื้อ 100 และ 200 เมตร
เดี่ยวผสม 200 และ 400 เมตร
ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 และ 4 x 200 เมตร
ผลัดผสม 4 x 100 เมตร

ข้อมูลและภาพประกอบ

ท่องเที่ยววว!!


เชียงใหม่
สวนดอก เชียงใหม่






วัดสวนดอก หรือ วัดบุพผาราม ตั้งอยู่ถนนสุเทพ อำเภอเมือง วัดนี้พระเจ้ากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1914 (ศักราชนี้ถือตาม หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ของพระรัตนปัญญาเกตุ) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐาน พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินลานนาไทย วัดนี้แต่เดิมเป็นพระราชอุทยาน ของกษัตริย์ลานนาไทย สมัยแรกเริ่ม มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่และวิหารโถง นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะสุโขทัย





เสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง





เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง อ.มือง เป็นหลักเมืองเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 ปัจจุบันนี้อยู่ตรงหน้าวัดเจดีย์หลวง เสาอินทขิลนี้ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็กๆ หลักอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า


เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง







วัดพระสิงห์วรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่





วัดพระสิงห์วรวิหาร
วัดพระสิงห์ หรือมีชื่อเต็มว่า วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนสามล้าน ต.พระสิงห์ เป็นวัดที่มีนักท่องเที่ยวรู้จักคุ้นชื่อกันดี พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู ซึ่งเป็นพระราชบิดา เดิมชื่อว่า วัดลีเชียงพระ บริเวณหน้าวัดแห่งนี้เคยเป็นกาดมาก่อน ชาวบ้านเรียกว่า กาดลี วัดพระสิงห์มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่ หอไตร สร้างเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ ที่ตัวผนังตึกด้านนอกประดับด้วยทวยเทพปูนปั้นแต่งองค์ทรงเครื่องสวยงาม เป็นฝีมือช่างสมัยพระเมืองแก้ว ต่อมาในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ประมาณ พ.ศ. 2467 ที่ฐานหอไตรปั้นเป็นลายลูกฟักลดบัวภายในประดับด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ และประจำยาม ที่มีลักษณะละม้ายลายสมัยราชวงศ์เหม็งของจีน


นอกจากนี้ยังมีวิหารลายคำ เป็นวิหารทรงพื้นเมืองล้านนาขนาดเล็กกระทัดรัด ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ที่ผนังวิหารมีภาพจิตรกรรมโดยรอบ ด้านเหนือเขียนเป็นเรื่องสังข์ทอง ด้านใต้เป็นเรื่องสุวรรณหงส์ ภาพจิตรกรรมดังกล่าวมีความน่าสนใจมากทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องสังข์ทองพบเพียงแห่งเดียวที่นี่ ลักษณะเด่นของภาพจิตรกรรมที่พบในล้านนา อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สรุปไว้ว่า" จิตรกรรมในภาคเหนือนิยมเขียนภาพชีวิตประจำวัน เป็นภาพเหมือนชีวิตจริง ถ้าเรามองดูภาพที่งดงามเรื่องสังข์ทองในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ เราจะรู้สึกคล้ายกับว่า เราเข้าไปอยู่ในสภาพการณ์ที่เป็นจริงตามความเป็นอยู่เมื่อ 100 ปีก่อน "





วัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่







วัดเจดีย์หลวง
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านท่าใน ตำบลควนทอง เป็นชุมชนโบราณ ซึ่งมีร่องรอยของเนินดิน สระน้ำ หินชิ้นส่วนของเทวสถาน แท่นเทวรูป แท่นศิวลึงค์ ที่กระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก
เป็นวัดที่มีเจดีย์ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของ จ. เชียงใหม่ ปัจจุบันยอดเจดีย์ได้หักพังลงมาเมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2088 วัดเจดีย์หลวงจึงเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด






อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย, เชียงใหม่






มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์ ภูเขาที่สูงสลับซับซ้อน ที่สำคัญได้แก่ ดอยสุเทพ ดอยบวกห้า และดอยปุย เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธาร มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม ทั้งมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และสำคัญทางศาสนา และทางประวัติศาสตร์ มีเนื้อที่ ประมาณ 262.50 ตารางกม. หรือ 163,162.50 ไร่ การเดินทางไปยังที่ทำการอุทยานฯ จากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 5 กม. ตามถนนห้วยแก้ว-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-สวนสัตว์ เชียงใหม่ ถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร จากนั้นเดินทางต่อไปอีกเล็กน้อย ถึงทางแยกขวามือ มีป้ายบอกทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย
ในพื้นที่อุทยานฯ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ
วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ
เดินทางตามถนนห้วยแก้วผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็น ตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยประมาณ 11 กม. เมื่อขึ้นมาถึงจะมองเห็นบันไดทอดยาวขึ้นไปสู่วัด และมีนาค 2 ตัว อยู่สองข้างบันไดซึ่งสูง 300 กว่าขั้น วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้ เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวซึ่ง เดินทางไปเชียงใหม่ จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่ วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้ ประดิษฐานอยู่บนดอยสุเทพ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,051 ฟุตและและเป็นปูชนียสถานที่สำคัญคู่เมืองเชียงใหม่ จะมีงานประเพณี ีสรงน้ำพระบรมธาตุในวันเพ็ญวิสาขบูชาทุกปี









หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย
หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งนี้ ตั้งอยู่บนดอยปุย ห่างจากพระตำหนักฯ 3 กม. เป็นทางลาดยางตลอด หมู่บ้านม้งดอยปุยนี้ เป็นหมู่บ้านที่น่าสนใจยิ่ง นอกจากเราจะเห็นสภาพ ความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ แล้ว บริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านยังมีทิวทัศน์ที่สวยงามอย่างยิ่ง และยังสามารถมองเห็น ดอยอินทนนท์เบื้องหน้า ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย หมู่บ้านม้งดอยปุยเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้สะดวก ทั้งนี้เพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง โดยใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองประมาณ 1 ชม.เท่านั้น ฉะนั้นจึงมีนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศนิยมเดินทางไปชมกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งภายในหมู่บ้านยังมี ร้านขายของที่ระลึก ซึ่งผลิตภายในหมู่บ้าน และนำมาจากที่อื่นวางขายให้แก่นักท่องเที่ยวด้วย





น้ำตกห้วยแก้ว
เป็นน้ำตกเล็ก ๆ สูงประมาณ 10 ม. อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 6 กม. น้ำตกห้วยแก้วมีน้ำไหลตลอดปี รอบ ๆ บริเวณก็สวยงามด้วยทิวทัศน์และร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ นอกจากนั้นยังมีที่พักผ่อน นำอาหารไปนั่งรับประทานกันที่ ผาเงิบและวังบัวบาน อันเป็นสุสานแห่งความรัก ของสาวบัวบานผู้ถือรักเป็นสรณะ
-----------------------------------------
น้ำตกมณฑาธาร
หรือน้ำตกสันป่ายาง เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดในเขตอุทยานฯ มีทั้งหมด 3 ชั้น ไหลลดหลั่นจากหน้าผาเป็นชั้นๆ อยู่ห่างจากน้ำตกห้วยแก้วประมาณ 3 กม.







อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
นักบุญแห่งลานนาไทย ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่บุกเบิกสร้างถนนขึ้นไปถึงดอยสุเทพ อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยตั้งอยู่บนทางขึ้นดอยสุเทพ ก่อนถึงน้ำตกห้วยแก้ว ฉะนั้น ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการดอยสุเทพ มักจะลงนมัสการอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เพื่อความเป็นสวัสดิมงคล ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ริเริ่มชักชวน ให้ประชาชนชาวเหนือร่วมแรงร่วมใจกันสร้างถนน จากเชิงดอย ขึ้นไปสู่วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ โดยเริ่ม ลงมือเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 และแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2478 รวมระยะทางจากเชิงดอยไปถึง วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ 10 กม.



-----------------------------------------
พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
จากดอยสุเทพไปยังตำหนักภูพิงค์ฯ ระยะทางประมาณ 4 กม. เป็นพระตำหนักประทับแปรพระราชฐาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2505 ตั้งอยู่บนดอยบวกห้าโดยปกติแล้วจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมเฉพาะ วันศุกร์ วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดราชการ ทั้งนี้จะต้องเป็นช่วงเวลาที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มิได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ





สวนรุกขชาติน้ำตกห้วยแก้ว




น้ำตกห้วยแก้ว
เป็นน้ำตกเล็ก ๆ สูงประมาณ 10 ม. อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 6 กม. น้ำตกห้วยแก้วมีน้ำไหลตลอดปี รอบ ๆ บริเวณก็สวยงามด้วยทิวทัศน์และร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ นอกจากนั้นยังมีที่พักผ่อน นำอาหารไปนั่งรับประทานกันที่ ผาเงิบและวังบัวบาน อันเป็นสุสานแห่งความรัก ของสาวบัวบานผู้ถือรักเป็นสรณะ



สวนสัตว์เชียงใหม่


ช่วงๆ กะ หลินหุ้ย หมีแพนด้า ประจำสวนสัตว์เชียงใหม่
สวนสัตว์องตัวนี้ ทางสวนสตว์ก้อพอจะมีกำไรเป็นปีแรกทีเดียว ล่าสุดทางสวนสัตว์กำลังจะสร้างอะควอเลี่ยมขนาดใหญ่อยู่อีกด้านในสวนสัตว์ น่าจะเป็นแม่เหล็กดูดเงินนักท่องเที่ยวได้อีกแรงหนึ่ง ก่อนเข้าชมหมีแพนด้าต้องเสียค่าผ่านประตูต่างหากอีก ภายในมีร้านค้าและจำหน่ายของที่ระลึกหมีแพนด้า
สวนสัตว์อยู่ใกล้กับสวนรุกขชาติ เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่ได้รับการจัดสภาพอย่างดี บริเวณกว้างขวาง มีบรรยากาศร่มรื่น และมีสัตว์อยู่มากมายหลายชนิด ทั้งที่อยู่ในเมืองไทย และนำมาจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการจัดพื้นที่เป็นสวนนก ซึ่งมีทั้งนกในท้องถิ่นและนกต่างประเทศ กว่า 2,000 ชนิด เปิดให้ชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-19.00 น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 5 บาท และยังมีร้านอาหาร เต้นท์แคมปิ้ง ไว้บริการ นักท่องเที่ยว สามารถติดต่อจองล่วงหน้าได้ที่ โทร (053) 221179, 222283